วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์ Social Media for Political Campaign


ผมมานั่งดูการใช้ Social Media ของ นักการเมืองมีความรู้สึกว่า การใช้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างเด่นชัดว่าจะใช้เพื่ออะไรแน่ และไม่ได้นำมาซึ่งเป็นเครื่องมือการตลาดที่ขับเคลื่อน Political Campaign เข้าไปในใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ใช้ Social Media ได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น ผมเลยเกิดแนวคิดว่า ถ้าจะใช้ Social Media ในทางการเมืองแล้ว ควรจะมีคำแนะนำอย่างไรบ้าง
1. ก่อนอื่นเลย พรรคคุณต้องกำหนด Value ของนโยบายคุณให้ชัดเจนก่อน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้าง Content ผ่านสื่อต่างๆ
เช่น Value ที่พรรคเพื่อไทยกำหนด คือ ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ แน่ละ Value นี้ คนไม่ชอบทักษิณย่อมต่อต้าน แต่คนที่รักทักษิณจะชอบเพราะชัดเจน การกำหนดท่าทีชัดเจนไม่คลุมเครือเช่นนี้ ต่างจากท่วงทำนองก่อนหน้าของพรรคที่มักจะกล่าวว่า ก้าวผ่านทักษิณไปแล้ว ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่ผิดพลาด เพราะคนรักทักษิณก็จะไม่เลือก และคนเกลียด ก็ไม่เลือกอยู่แล้ว
Value ของพรรคประชาธิปัตย์ คือ การสานต่องานที่ทำไปแล้วก่อนหน้า ทางพรรคต้องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของนโยบายที่ผ่านมา และสามารถเข้าไปสานต่อได้ทันที ไม่ต้องรอ ทำได้ตั้งแต่วันแรกเลย Value นี้ค่อนข้างอ่อน เพราะนโยบายที่ผ่านมาของรัฐบาลก่อนดูจะมีช่องว่างให้โจมตีได้มาก ทางที่ดี ต้องเอา Value แรงๆ เช่น ไม่เลือกเรา เขามาแน่ ซึ่งจะทำให้คนเกลียดทักษิณเลือกมากกว่า
Value ของกลุ่มเป็นกลางๆ เช่น พรรครักษ์สันติ สิ่งที่ควรเสนออย่างยิ่งแบบเป็นหมัดเด็ด คือ เลือกพรรครักษ์สันติแล้ว ความวุ่นวายทางการเมืองต่างๆจะหมดไป เพราะไม่ได้เอนไปข้างใดข้างหนึ่งของคู่ปัญหา พรรครักษฺ์สันติต้องชูประเด็นนี้ให้ชัด มากกว่าการพูดแต่นโยบายที่ดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างไปจากพรรคอื่นๆ และทำให้ภาพของพรรคเบลอไป
2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการทำ Potical Campaign
Social Media แต่ละประเภท เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้ต่างกัน
Facebook – ควรใช้เพื่อสร้างกลุ่ม Fan ที่ Support พรรคของเรา ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าพอใกล้เลือกตั้งจึงค่อยมีการใช้ Social Media แต่ควรใช้กันอย่างต่อเนื่อง ใน Facebook ควรแจ้งแถลงไขถึงนโยบายหลักของพรรค การเล่าเรื่องราวของผู้สมัคร แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นการเปิดโอกาสให้บรรดา Fan มีส่วนร่วมกิจกรรมของพรรค ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบน Facebook เช่น การเปิดโอกาสให้ Fan ได้มีส่วนร่วมเสนอนโยบาย การเปิดรับฟังปัญหา หรือ ทางพรรคอาจจะมีการจัดกิจกรรม CSR แล้วเปิดโอกาสให้บรรดา Fan ได้มีส่วนร่วม
ทำให้พรรคมีความใกล้ชิดกับผู้สนับสนุน
Twitter – ใช้ในการแจ้งความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ใช้ในการพูดคุยสร้างความใกล้ชิด การโต้ตอบถือเป็นสิ่งสำคัญ และจะดีมากที่จะเปิดรับความคิดเห็นต่างๆ ไม่ควรใช้ Twitter ในการถากถางคู่แข่ง เนื่องจากผู้ใช้ Twitter มีความรู้สูงในระดับหนึ่ง ไม่ต้องการเห็นการถากถาง แต่ต้องการรับทราบถึงนโยบายและแนวทางปฏิบัติมากกว่า
หากเจอบรรดาคนที่ไม่ชอบเรา Twitter เข้ามา ควรเงียบเสีย เพราะการต่อล้อต่อเถียง จะนำมาซึ่ง Drama ไม่เกิดผลดีต่อภาพพจน์ การอธิบายสามารถทำได้ โดยเน้น Fact และมีข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้
ความจริง ผมเห็นนักการเมืองเน้นสื่อนี้มาก ข้อดี คือ เป็นสื่อที่นักข่าวให้ความสำคัญ สามารถใช้ในการจุดกระแสต่างๆได้ นักการเมืองอาจจะใช้เป็นช่องทางในการจัดกิจกรรม เช่น กำหนดวัน ที่ให้บรรดาชาว Twitter สอบถามได้แบบสดๆ แล้วโต้ตอบทันที โดยมีการกำหนดนัดหมายล่วงหน้า ทำให้เกิดกระแสให้เกิดความน่าสนใจ แต่อาจจะมีข้อเสียได้ คือ คนที่ไม่ชอบจะเข้ามากวนหรือยั่วโมโหได้
YouTube – เป็นสื่อที่นักการเมืองไม่ได้พูดถึงมากนัก ทั้งๆที่เป็นเครื่องมือที่ดีมากในการสร้าง Viral Marketing เราควรจัดทำคลิปเพื่อให้เกิดการสร้างกระแสและมีการพูดถึงให้ได้ เช่น พรรครักษ์สันติของ อาจารย์ปุระชัย อาจจะรวบรวมคลิปความขัดแย้งในอดีตมาตัดต่อสั้นๆ เพื่อให้ทราบว่าที่มันเกิดเพราะการเลือกข้างไป ปชป หรือเพื่อไทย ทางที่จะทำให้สงบได้คือเลือกพรรคเป็นกลาง วิดีโอทำให้เกิดภาพที่เห็นชัดได้มากกว่าคำบอกเล่า
หรืออย่างนักการเมืองที่ตะเวณไปปราศรัยตามที่ต่างๆ ก็อาจจะเอาส่วน Highlight ทำเป็นคลิปวิดีโอประกอบเพลง ในการตอกย้ำถึงนโยบาย และเร้าอารมณ์ความรู้สึก
นักการเมืองอาจจะใช้ YouTube เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับประชาชนได้ เช่น การทำเป็นคลิปสั้นๆที่เล่าถึงชีวิตประจำวันในแบบเป็นกันเองในวันสบายๆของหัวหน้าพรรค เพื่อให้บรรดา Fan สามารถจับต้องได้ ไม่ใช่จะเป็นทางการเสียจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของ Social Media
การใช้ Social Media ทั้ง 3 นั้นจะต้องพูดคุยในลักษณะแบบ informal ทำให้บรรดา Fan หรือ Follower กล้าที่จะพูดคุยแบบกันเองด้วย ซึ่งส่วนนี้ต้องใช้ระยะเวลา ไม่สามารถจะสร้างความใกล้ชิดภายในวันหรือสองวันได้
3. การใช้ Social Media เน้นการสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้นมันต้องใช้เวลา แต่ที่เห็นปัจจุบัน เป็นการมอง Social Media แค่เป็นช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งไม่ต่างไปจาก Traditional Media และนักการเมืองหลายคนก็เอาแต่พูดแบบข้างเดียว
4. ข้อนี้สำคัญ เมื่อท่านเป็นรัฐบาล แล้วอย่าลืมบรรดา Fan หรือ Follower ที่ไปลงเสียงให้เสียละ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น