วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกากำลังส่งผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อ ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับสถานการณ์ ในบ้านเราเองก็ส่งผลต่อเอสเอ็มอีไม่น้อย
อาจารย์บุริม โอทกานนท์ ประธานสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้หยิบยกกรณีศึกษาของบริษัท B-Best Inter Serviceซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจประเภทเทรดดิ้งหรือตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าออกไปยังต่างประเทศมาเล่าให้ฟังว่า
รูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัท B-Best คือเป็นคนกลางจัดหาผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภคในครัวเรือนส่งออกไปขายในต่างประเทศทั่วโลก
ความน่าสนใจของบริษัท B-Best คือการวางตำแหน่งหรือ position ของตัวเองโดยโฟกัสกลุ่มลูกค้าของบริษัทไปยังกลุ่มลูกค้ารายเล็กในประเทศต่างๆ
อาทิ ร้านขายของชำ ร้านอาหารไทย ซึ่งลูกค้าในลักษณะนี้จะมีพฤติกรรมการสั่งนำเข้าสินค้าต่อชนิดไม่มาก คละกันไป ต่างจากผู้ซื้อรายใหญ่ที่มักจะสั่งสินค้าชนิดเดียวกันครั้งละ มากกว่า 1 ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อความได้เปรียบทางด้านต้นทุน
อาจารย์บุริมได้กล่าวถึง คุณสุรีย์ ภัทรพิสิฐพงศ์ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งบริษัท B-Best Inter Service จำกัดว่า ก่อนที่คุณสุรีย์จะเข้าสู่ธุรกิจส่งออก เธอทำงานเป็นลูกจ้างบริษัท ตัวแทนนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่าง ประเทศมาก่อน จึงได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการในการทำธุรกิจส่งออกและนำเข้าสินค้า มองเห็นโอกาสว่าตนเองก็น่าจะสามารถสร้างธุรกิจส่งออกได้ จึงได้ลาออกจากบริษัทเดิมแล้วตั้งธุรกิจเทรดดิ้งของตัวเองขึ้นเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา
สินค้าของคุณสุรีย์จะมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ สินค้าอุปโภคบริโภค และส่วนที่ 2 คือสินค้าที่บริษัท B-Best จ้างผลิตแล้วติดแบรนด์ของตัวเองเพื่อสร้างมูลค่าในระยะยาว
ปัจจุบันบริษัทมีสินค้าในแค็ตตาล็อกมากกว่า 100 รายการ พร้อมกับแผนที่จะขยายตลาดเข้าไปยังประเทศทางตะวันออกกลาง ยุโรป รวมถึงพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเองมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์สร้างเครือข่ายกับผู้ผลิตท้องถิ่นเป็นผู้ผลิตให้ ตลอดจนมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองกับลูกค้าได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่ผู้ส่งออกหรือเทรดดิ้งรายใหญ่ๆ ต่างประสบกับปัญหายอดสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศลดลง อันเนื่องมาจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำทั่วโลก แต่กิจการของคุณสุรีย์กลับไม่ได้รับผลกระทบจากตรงนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่เธอทำตลาดส่งออกอยู่นั้นเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันทั่วไป
ถึงแม้บรรยากาศทางเศรษฐกิจไม่ดีแต่ทุกคนยังจะต้องมีการบริโภค คนไทยในต่างประเทศก็ยังต้องการทานข้าว และยังต้องใช้น้ำปลา กะปิ ร้านอาหารก็ยังจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำหรับการประกอบอาหาร
อาจารย์บุริมกล่าวว่า กรณีศึกษา รูปแบบธุรกิจที่คุณสุรีย์ดำเนินอยู่นั้นแสดงให้เห็นถึงวิธีการสร้างโอกาสและ มองหาช่องว่างให้กับตัวเองโดยอาศัยองค์ความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการส่งออก และรู้จักที่จะสร้างเครือข่าย รู้จักว่าควรจะนำสินค้าประเภทใดไปให้ใครและที่ไหน เธอสามารถมีสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเองโดยไม่ต้องไปลงทุนในเรื่องของกระบวนการผลิต
ในมุมมองอีกด้านผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคที่กำลังมองหาตลาดใหม่ ต้องการขยายโอกาสทางการตลาด ต้องการที่จะขายสินค้าออกต่างประเทศ ตลอดจนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจนต้องมองหาตลาดใหม่ๆ ให้กับตัวเอง
บริษัทส่งออกอย่าง B-Best ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายสินค้า
ปัจจุบันบริษัทมีสินค้าในแค็ตตาล็อกมากกว่า 100 รายการ พร้อมกับแผนที่จะขยายตลาดเข้าไปยังประเทศทางตะวันออกกลาง ยุโรป รวมถึงพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเองมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์สร้างเครือข่ายกับผู้ผลิตท้องถิ่นเป็นผู้ผลิตให้ ตลอดจนมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองกับลูกค้าได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่ผู้ส่งออกหรือเทรดดิ้งรายใหญ่ๆ ต่างประสบกับปัญหายอดสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศลดลง อันเนื่องมาจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำทั่วโลก แต่กิจการของคุณสุรีย์กลับไม่ได้รับผลกระทบจากตรงนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่เธอทำตลาดส่งออกอยู่นั้นเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันทั่วไป
ถึงแม้บรรยากาศทางเศรษฐกิจไม่ดีแต่ทุกคนยังจะต้องมีการบริโภค คนไทยในต่างประเทศก็ยังต้องการทานข้าว และยังต้องใช้น้ำปลา กะปิ ร้านอาหารก็ยังจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำหรับการประกอบอาหาร
อาจารย์บุริมกล่าวว่า กรณีศึกษา รูปแบบธุรกิจที่คุณสุรีย์ดำเนินอยู่นั้นแสดงให้เห็นถึงวิธีการสร้างโอกาสและ มองหาช่องว่างให้กับตัวเองโดยอาศัยองค์ความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการส่งออก และรู้จักที่จะสร้างเครือข่าย รู้จักว่าควรจะนำสินค้าประเภทใดไปให้ใครและที่ไหน เธอสามารถมีสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเองโดยไม่ต้องไปลงทุนในเรื่องของกระบวนการผลิต
ในมุมมองอีกด้านผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคที่กำลังมองหาตลาดใหม่ ต้องการขยายโอกาสทางการตลาด ต้องการที่จะขายสินค้าออกต่างประเทศ ตลอดจนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจนต้องมองหาตลาดใหม่ๆ ให้กับตัวเอง
บริษัทส่งออกอย่าง B-Best ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายสินค้า
เกี่ยวกับสุรีย์
สุรีย์ ภัทรพิสิฐพงศ์ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4059
บทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4059
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น