วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

http://www.kmi.or.th/5_Link/Article_PVicharn/0001_IntrotoKM.html

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

10 องค์กรยอดนิยมปี 2550

10 องค์กรยอดนิยมปี 2550
กองบรรณาธิการ Positioning Magazine มิถุนายน 2550


“อยากทำงานที่ไหน” อาจเป็นคำพูดหนึ่งที่ทำให้หลายคนสนใจว่า ยุคนี้ พ.ศ.นี้ สถานการณ์เปลี่ยนผ่าน ความคิดของคนรุ่นใหม่ๆ ผู้ที่กำลังจบการศึกษา วัยเริ่มต้นทำงาน ล้วนต่างมีความคิดเช่นใด... 


10 องค์กรที่น่าทำงานที่สุด นิตยสาร POSITIONING ได้ทำการสำรวจผ่านเว็บไซต์ www.positioningmag.com โดยใช้ระยะเวลาในการสำรวจประมาณ 3 เดือน ให้ผู้สนใจตอบแบบสอบถามโหวตเลือกองค์กรที่อยากเข้าทำงานมากที่สุด ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วมโหวตทั้งหมด 596 คน แบ่งเป็นหญิงร้อยละ 54 ชายร้อยละ 46 โดยส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 23-50 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และทำงานแล้ว (อ่านตารางประกอบ) 


มีข้อน่าสังเกต หลายประเด็นของผลการสำรวจครั้งนี้ พบว่า องค์กรที่อยากทำงานในวันนี้ อันดับๆต้นยังเป็นปตท. ,ปูนซีเมนต์ และการบินไทย ซึ่งเป็นองค์กรมหาชนขนาดใหญ่ระดับประเทศ ที่มูลค่าผลประกอบการนับหมื่น นับแสนล้านบาท อาจด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า องค์กรระดับประเทศเหล่านี้มีเงินทุนมหาศาล ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ และ ผลตอบแทนในวิชาชีพที่สูง 


ขณะที่บริษัทด้านธุรกิจบันเทิง อย่าง เวิร์คพอยท์ฯ แกรมมี่ กลายเป็นองค์กรที่เข้ามาติดโผความนิยมอย่างน่าสนใจ ด้วยเพราะภาพลักษณ์ของธุรกิจบันเทิงที่ยังถูกมองว่า ทำงานน่าสนุก ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ ผ่านตัวศิลปินคนดัง ทำให้หลายคนเชื่อว่า องค์กรทั้งสองแห่งนี้ น่าตอบสนองความต้องการงานบันเทิงจะเป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุด 


นอกจากนี้ องค์กรอย่างค่ายรถยนต์เบอร์หนึ่งของไทย อย่าง โตโยต้า และ ไมโครซอฟ เป็นบริษัทข้ามชาติที่ถูกเลือกเช่นกัน และต่างมองว่า โอกาสของความก้าวหน้าและผลตอบแทนจากองค์กรต่างชาติ มีโอกาสมากกว่าที่อื่นๆ โดยเฉพาะโบนัส และโอกาสในการเดินทางไปดูงาน หรือทำงานในต่างประเทศ มีสูงมาก 


ส่วนจุดน่าสนใจอีกองค์กรที่ได้รับการเลือก คือ เอเยนซี่ LEO BURNETT เข้ามาติดโผ ในอันดับสุดท้าย ซึ่งอาจดูพลิกความคาดหมายไม่น้อย สะท้อนให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่ๆ ธุรกิจโฆษณา อยู่ในความสนใจของเขาเช่นกัน 


ความเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกต คือ องค์กรด้านสถาบันการเงิน หลุดโผอันดับ 1 ใน 10 แตกต่างจากเมื่อทัศนคติการเลือกองค์กรทำงานเมื่อ 10 ปีอย่างมาก อาจเพราะสถาบันการเงิน อย่าง ธุรกิจธนาคาร กลุ่มเงินทุน ช่วงหนึ่งเคยมีลดขนาดลงด้วยการถ่ายเทคนออก จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทำให้หลายคนอาจเกิดความมั่นใจในความมั่นคงต่อวิชาชีพ 


...ข้อสรุปขององค์กรที่น่าทำงานจากผลการสำรวจครั้งนี้ สามารถสะท้อนความคิดด้านทัศนคติของคนในช่วงเวลาหนึ่งได้อย่างน่าสนใจ ว่า ยุคนี้แทรนด์ความนิยม และมุมมองต่อองค์กรในสถานการณ์ปัจจุบันที่ใดบ้าง ที่น่าทำงานที่สุด 




Top10 บริษัทน่าทำงาน 2550 


1. ปตท.และ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 287 คะแนน 
2. ปูนซิเมนต์ไทย 200 คะแนน 
3. การบินไทย 162 คะแนน 
4. เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ 133 คะแนน 
5. โตโยต้า (ประเทศไทย) 133 คะแนน 
6. ไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย) 90 คะแนน 
7. ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) 84 คะแนน 
8. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 84 คะแนน 
9. แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 64 คะแนน 
10. LEO BURNETT 61 คะแนน 


ผู้ตอบ 596 คน 
- หญิง 322 คน หรือ 54% 
- ชาย 274 คน หรือ 46% 


Top10 บริษัทที่ผู้ตอบชายเลือกเป็นอันดับแรก 
1. ปูนซิเมนต์ไทย 28 คน 10.2 % 
2. ปตท.และ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 25 คน 9.1 % 
3. การบินไทย 15 คน 5.4% 
4. ไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย) 10 คน 3.6 % 
5. แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป และไทยเดย์ดอทคอม 8 คน 2.9 % 
6. ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) 8 คน 2.9 % 
7. เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ 7 คน 2.5 % 
8. โตโยต้า (ประเทศไทย) 7 คน 2.5 % 
9. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 7 คน 2.5 % 
10. OGILVY & MATHER (Thailand) 6 คน 2.1 % 
และ ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง 6 คน 2.1 % 


Top10 บริษัทที่ผู้ตอบหญิงเลือกเป็นอันดับแรก 
ปตท.และ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 37 คน 11.4 % 
ปูนซิเมนต์ไทย 19 คน 5.9 % 
การบินไทย 14 คน 4.3 % 
เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ 14 คน 4.3 % 
โตโยต้า (ประเทศไทย) 12 คน 3.7 % 
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 9 คน 2.7 % 
ไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย) 8 คน 2.4 % 
LEO BURNETT 8 คน 2.4 % 
- OGILVY & MATHER (Thailand) 8 คน 2.4 % 
- เอสโซ่ (ประเทศไทย) 8 คน 2.4 % 


ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม 
เรียน/ทำงาน 
- เรียนอยู่ 10 คน หรือ 1.7 % 
- ทำงานแล้ว 586 คน หรือ 98.3 % 


อาชีพ (ของผู้ทำงานแล้ว) 
- ธุรกิจ/การจัดการ 236 คน 41 % 
- สายวิทยาศาสตร์/วิชาชีพเฉพาะด้าน 120 คน 20 % 
- ไอที 109 คน 19 % 
- สื่อสารมวลชน 63 คน 11 % 
- วิชาการ/อื่นๆ 50 คน 9% 


สายที่เรียน (ของนิสิตนักศึกษา) 
- ธุรกิจ/การจัดการ 3 คน 30% 
- สายวิทยาศาสตร์/วิชาชีพเฉพาะด้าน 3 คน 30% 
- สื่อสารมวลชน 2 คน 20 % 
- ไอที 1 คน 10 % 
- วิชาการ/อื่นๆ 1 คน 10% 


อายุ 
- 15-22 ปี 30 คน 5 % 
- 23-30 ปี 264 คน 45 % 
- 31-50 ปี 277 คน 48 % 
- 50 ปีขึ้นไป 13 คน 2 % 


ระดับการศึกษา 
- ต่ำกว่าปริญญาตรี 15 คน 2.6 % 
- ปริญญาตรี 357 คน 61 % 
- ปริญญาโท 198 คน 34 % 
- ปริญญาเอก 13 คน 2.2 % 

TOP 10 องค์กรยอดนิยม 2553

TOP 10 องค์กรยอดนิยม 2553
กองบรรณาธิการ Positioning Magazine เมษายน 2553 


ผลสำรวจ 10 บริษัทน่าทำงานในปี 2553 ที่มีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 200 ราย สะท้อนมุมมองของรุ่นใหม่ที่มีต่อองค์กรที่พวกเขาต้องการร่วมงานด้วยอย่างน่าสนใจ 


จุดร่วมแรก พบว่า ผลจากการโหวตทำให้พบว่า 10 บริษัทที่ได้รับเลือกล้วนแต่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง และเป็นกิจการที่มีความมั่นคง และเป็นหน่วยงานของไทย ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจเป็นเพราะคนรุ่นใหม่มีความรู้สึกว่า ด้วยภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ต้องการหาความมั่นคงให้กับชีวิตการทำงาน 


จุดที่สอง - องค์กรเหล่านี้มักจะมีการทำกิจกรรมการตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ปรากฏอยู่ในสื่อเสมอ ทำให้เป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป 


จุดร่วมที่สาม - “ทำเล” ที่ตั้งขององค์กรจะอยู่ในตัวเมือง เนื่องจากปัญหาการจราจรติดขัด และความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองกรุงเทพฯ ทำให้ทำเลขององค์กรซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใจกลางเมือง สามารถเดินทางสะดวก โดยมีทั้งรถขนส่งมวลชน เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน และอยู่ในแหล่งช้อปปิ้ง ทำให้องค์กรเหล่านี้ได้รับเลือกว่าน่าร่วมงานด้วยมากที่สุด 




10 อันดับบริษัทน่าทำงานมากที่สุด 2553 


อันดับ บริษัทที่เลือก คะแนน 
1 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 185 
2 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 96 
3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 62 
4 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 48 
5 OGILVY & MATHER (THAILAND) Co., Ltd. 33 
6 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 32 
7 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 32 
8 ธนาคารกสิกรไทย 23 
9 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 21 
10 บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด 18 


Top 10 อันดับผู้ตอบเพศหญิงเลือกเป็นอันดับแรก 


อันดับ บริษัทที่เลือก คะแนน 
1 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 104 
2 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 46 
3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 29 
4 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 21 
5 บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด 18 
6 ธนาคารกสิกรไทย 18 
7 บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 17 
9 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 16 
10 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 16 


Top10 อันดับผู้ตอบเพศชายเลือกเป็นอันดับแรก 


อันดับ บริษัทที่เลือก คะแนน 
1 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 81 
2 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 50 
3 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 48 
4 OGILVY & MATHER (THAILAND) Co., Ltd. 33 
5 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 33 
6 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 32 
7 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 15 
9 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 11 
10 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 5 
11 ธนาคารกสิกรไทย 5 




Top10 อันดับ ผู้ตอบอายุ 18-30 ปี 


อันดับ บริษัทที่เลือก จำนวนผู้ตอบ 
1 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 22 
2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 7 
3 OGILVY & MATHER (THAILAND) Co., Ltd. 5 
4 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 5 
5 บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 4 
6 บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด 4 
7 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 4 
8 ธนาคารกสิกรไทย 3 
9 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 3 
10 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 2 


Top 10 กลุ่มผู้ตอบอายุ 31 – 40 ปี (ทุกเพศ) 


อันดับ บริษัทที่เลือก จำนวนผู้ตอบ 
1 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 14 
2 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 4 
3 บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด 3 
4 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 3 
5 บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) (เยื่อกระดาษสยาม) 2 
6 บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เซเว่น อีเลฟเว่น 2 
7 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 2 
8 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 2 
9 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 2 
10 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2 


Top 10 ผู้ตอบอายุ 41 – 50 ปี (ทุกเพศ) 


อันดับ บริษัทที่เลือก จำนวนผู้ตอบ 
1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2 
2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 1 
3 ธนาคารกสิกรไทย 1 
4 บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ จำกัด (ประเทศไทย) 1 
5 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) 1 
6 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 1 
7 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 1 
8 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือ มิวเซียมสยาม (Museum Siam) 1 
9 บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1 
10 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 1 


ข้อสรุป 
- ชายสนใจทำงานกับกลุ่ม ปตท. (ปตท. และ ปตท.สผ.) มากกว่าหญิงถึงเท่าตัว และยังมีคำตอบ กฟผ. ซึ่งเป็นธุรกิจพลังงานเช่นกัน โดยหญิงไม่ได้เลือก 
- ชายสนใจทำงานโฆษณา (Ogilvy & Mather) มากกว่าหญิง ซึ่ง 10 อันดับแรกไม่มีเอเยนซี่โฆษณา 
- ชายสนใจทำงานสายการบิน (การบินไทย) มากกว่าหญิงซึ่ง 10 อันดับแรกไม่มีสายการบิน 
- หญิงสนใจทำงานกับบริษัทในธุรกิจบันเทิงมากกว่าชายอย่างมาก โดยสนใจทำงานกับ GMM Grammy มากกว่าชายเป็น 3 เท่า (16 กับ 5) และสนใจทำงานที่ Workpoint ซึ่งไม่ติดอันดับกับชาย 

บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

           เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2532 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 2 ล้านบาท โดยมี ปัญญา นิรันดร์กุล เป็นประธานกรรมการ/กรรมการผู้จัดการ และ ประภาส ชลศรานนท์ เป็นรองประธานกรรมการ/กรรมการรองผู้จัดการ 
          โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยสาระ และความบันเทิง ซึ่งในระยะเริ่มต้น มีบุคลากรเพียงประมาณ 10 คน จนกระทั่งปัจจุบัน มีบุคลากรในฝ่ายต่างๆ ถึงกว่า 300 คน เพื่อรองรับแผนการขยายธุรกิจในอนาคต บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท (ชำระเต็มมูลค่า) และใช้ชื่อย่อในการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ว่า “WORK” โดยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 มีบริษัทลูกรวม 6 แห่ง ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ และแอนิเมชัน บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการ เวทีทอง ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นรายการแรก ต่อมา บริษัทขยายการผลิตรายการ และละครประเภทต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ เป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำเสนอออกอากาศ มาโดยตลอดระยะเวลา 20 ปีของการดำเนินงาน เช่น เกมโชว์ควิซโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, วาไรตี้โชว์, เกมโชว์ควิซโชว์สำหรับเด็ก, เรียลลิตี้โชว์สำหรับเด็ก, เกมโชว์ซิทคอม, ละครซิทคอม, วาไรตี้โชว์ซิทคอม, วาไรตี้โชว์วันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครซิทคอมวันหยุดนักขัตฤกษ์, รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครโทรทัศน์เรื่องยาว, วาไรตี้โชว์และละครเรื่องยาว, ละครเทิดพระเกียรติ และสารคดีโทรทัศน์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ท็อปอวอร์ด สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และ รางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ดส์) และรางวัลเอมี่ส์ เป็นต้น
         นอกจากนี้ บริษัทยังมีโอกาสร่วมมือกับ สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคแห่งประเทศญี่ปุ่น ผลิตรายการ ทู เวย์ เอเชีย ซึ่งถ่ายทอดสดข้ามประเทศ ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น รวมถึงการจำหน่ายลิขสิทธิ์ของรายการเกมจารชน ให้กับสถานีโทรทัศน์ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่ออนุญาตให้นำรูปแบบของรายการดังกล่าว
ไปผลิตและออกอากาศที่อินโดนีเซียด้วย ปัจจุบันบริษัทมีรายการ และละครที่กำลังออกอากาศทางโทรทัศน์กว่า 20 รายการ โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย 6 แห่งคือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่ทำการของบริษัท
        เริ่มแรกใช้อาคารสำนักงานของบริษัท คีตา เรคคอร์ดส เนื้อที่ 50 ตารางเมตร ในซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 ได้ย้ายไปใช้อาคารเทพพนม ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ และเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ไปใช้อาคารพาณิชย์ ซอยทางเข้าโรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล ถนนพหลโยธิน สะพานใหม่ เขตบางเขน ทั้งหมดอยู่ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน บริษัทมีสำนักงาน และสตูดิโอเป็นของตนเอง บนเนื้อที่กว่า 15 ไร่ อยู่ริมถนนเลียบคลองเปรมประชากร ตำบลบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และ ปี พ.ศ. 2554 บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)ย้ายสำนักงานชั่วคราว อยู่เลขที่ 20/22 อาคาร GEC ซ.นกสกุล ถ.เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ เนื่องจาก สำนักงานเวิร์คพอยท์ จ.ปทุมธานี มีน้ำท่วมขังไม่สามารถทำการบันทึกเทปรายการได้ตามปกติ
        กลุ่มบริษัทในเครือเวิร์คพอยท์ สำหรับบริษัทร่วมทุนและบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทเวิร์คพอยท์ มีดังนี้
กลุ่มธุรกิจโทรทัศน์ ดำเนินธุรกิจผลิต และรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ โดยบริษัทมีทีมครีเอทีฟ
ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ และหลากหลาย 
ออกสู่สายตาผู้บริโภค โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้ชมที่ชัดเจน ปัจจุบัน
บริษัทมีรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศแบ่งได้เป็น ควิซโชว์, เกมโชว์, วาไรตี้, ซิทคอม, ละครโทรทัศน์ และ รายการวัฒนธรรม ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 7, โมเดิร์นไนน์ ทีวี, ทีวีไทย โดยแต่ละรายการของบริษัทประสบความสำเร็จ ซึ่งสามารถวัดได้จากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับจากสถาบันทั้งใน และต่างประเทศรวมถึงยอดขายโฆษณาที่สม่ำเสมอของบริษัท เป็นเครื่องยืนยัน ความสำเร็จและคุณภาพของบริษัท ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์
บริษัท คำพอดี จำกัด
บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด
บริษัท บั้งไฟ สตูดิโอ จำกัด
บริษัท กำกับการดี จำกัด
หมายเหตุ - ปัจจุบัน บริษัท คำพอดี แยกตัวออกจากเวิร์คพอยท์ โดยเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท พอดีคำ จำกัด 

กลุ่มธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
         บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้สร้างประวัติการณ์นั่นก็คือการเปิดตัวสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นช่องของบริษัทเองในนามว่า "workpointTV" โดยลงทุนในการเปิดสถานีโทรทัศน์กว่า 30-40 ล้านบาท ในเดือนกันยายนนี้ จะทำการทดลองออกอากาศภาพและเสียง โดยเป็นการเปิดบันทึกการแสดงสด คุณพระช่วยสำแดงสด และในเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2554 นำทดลองออกอากาศโดยนำรายการอดีตของเวิร์คพอยท์ ที่ออกอากาศเป็นครั้งแรกนำมาทะยอยออกอากาศครั้งละรายการ และในวันที่ 3 ตุลาคม 2554 เวลา 18.00 น.ได้ทำการทดลองออกอากาศอย่างไม่เป็นทางการ โดยจากการเริ่มรายการ ครัวตัวเอ้ ก่อนเปิดเป็นรายการแรก และในวันที่ 1 มกราคม 2555 เวิร์คพอยท์ ทีวี จะออกอากาศจริงเต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการ โดยสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ทีวี จะทำการออกอากาศโดยผ่านจานดาวเทียมระบบ ไทยคม 5 C-BAND PSI ในช่องหมายเลข 7 กลุ่มธุรกิจละครเวที ดำเนินการและรับผิดชอบผลิตละครเวที บริษัท โต๊ะกลมการละคร จำกัด 

กลุ่มธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์
         ดำเนินธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งผลิต และจำหน่ายนิตยสาร และ พ็อคเก็ตบุ๊ค โดย เวิร์คพอยท์สำนักพิมพ์ นิตยสารได้แก่ "นิตยสารแก้จน" ซึ่งเป็นนิตยสารฉบับแรกของบริษัท มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการแนะนำอาชีพต่างๆ ที่น่าสนใจ แปลกใหม่ ให้ผู้อ่านได้รับความรู้และแนวทางในการประกอบอาชีพ ต่อมาทางบริษัทได้เปิดตัวนิตยสารใหม่ได้แก่ "สารกระตุ้น" มีเนื้อหาส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรม แรงบันดาลใจ ความกล้าแสดงออกของคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว ปัจจุบันนิตยสารแก้จนได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นิตยสารขายดี by แก้จน" โดยยังคงเน้นเนื้อหาสาระความรู้การส่งเสริมอาชีพ และกลยุทธ์เพิ่มยอดธุรกิจ ในส่วนของพ็อคเก็ตบุ๊ค บริษัทฯ นำเสนอผลงานของนักเขียนหลากหลายแนว ครอบคลุมทั้งวรรณกรรม เรื่องสั้น บทกวี นวนิยาย บทความ และสาระบันเทิง เพื่อตอบความต้องการของนักอ่านทุกเพศทุกวัย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการคิด การเขียน และการอ่าน นอกจากนี้ยังผลิตสื่อสิ่งพิมพ์แนว Edutainment สำหรับเด็ก ในชื่อ Workpoint Smartkids ประกอบด้วยหนังสือการ์ตูนเบ็นเท็น (Ben 10) และหนังสือกิจกรรมเสริมทักษะสำหรับเด็กชุดเบ็นเท็น บริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด

กลุ่มธุรกิจภาพยนตร์
          ดำเนินธุรกิจผลิตภาพยนตร์ บริษัทมีนโยบายในการจัดทำภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ โดยมีผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีศักยภาพและมีฝีมือ ที่จะสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ ผลงานที่ผ่านมา อาทิ ภาพยนตร์ไทยเรื่อง โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง, เท่งโหน่ง คนมาหาเฮีย, หม่ำ เดียว หัวเหลี่ยม หัวแหลม, 6:66 ตายไม่ได้ตาย ฯลฯ ซึ่งทุกเรื่องได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี อีกทั้งบริษัทยังมุ่งสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดำเนินธุรกิจผลิตและตัดต่อภาพเคลื่อนไหวด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้แก่กลุ่มบริษัทผู้ผลิตโฆษณา (PRODUCTION HOUSE),และบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ (MOTION PICTURE INDUSTRY) บริษัทมีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการตัดต่อภาพเคลื่อนไหวด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (ANIMATION) และ มีผลงานที่ออกสู่ท้องตลาดทั้งใน และต่างประเทศ อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง ส้มตำ, การ์ตูนสารคดี อาเซียน, รวมถึง คอมพิวเตอร์กราฟิกในภาพยนตร์โฆษณา เช่น มาม่า ดีแทค ไวตามิลค์ แอมเวย์ ดูเม็กซ์ เป็นต้น ดำเนินการผลิตภาพยนตร์และแอนิเมชั่นสำหรับรายการโทรทัศน์ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และโฆษณา บริษัท บ้านอิทธิฤทธิ์ จำกัด บริษัท หัวฟิล์ม ท้ายฟิล์ม จำกัด

สตูดิโอบันทึกเสียง
         ดำเนินธุรกิจสตูดิโอบันทึกเสียง มีหลากหลายบริการ อาทิ บริการห้องบันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอล และมีห้องพากย์ที่สามารถพากย์เสียงพร้อมกันได้ บริษัทรับทำดนตรีโชว์, แต่งเพลง, เพลงประกอบภาพยนตร์, ซาวน์ดีไซน์, วงดนตรีคุณพระออเคสตรา จากรายการคุณพระช่วย และรับจัดวงดนตรีเครื่องสาย เครื่องไทย สำหรับงานทั่วไป, และงาน EVENT ต่างๆ ผลงานที่ผ่านมา อาทิ ผลิตเพลงในรายการโทรทัศน์ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน),ผลิตเพลงละครเรื่อง เพลงรักริมฝั่งโขง, เพลงประกอบละครเทิดพระเกียรติ พ่อ, เพลงประกอบสารคดี ปกป่าเพื่อแม่,ผลิตเพลงให้กับคอนเสิร์ต เหตุเกิดที่เฉลียง, และผลิตเพลงแก้วกัลยา เพื่อใช้ในงาน MISS THAILAND UNIVERSE 2008 ทางช่อง 7 สี เป็นต้น เวิร์คพอยท์สตูดิโอ

คอนเสิร์ตและโชว์บิซ
         ดำเนินธุรกิจคอนเสิร์ตและโชว์บิซ โดยสร้างสรรค์งานแสดงต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ชมอย่างต่อเนื่อง และ ถือเป็นความบันเทิงอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ชม โดยบริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างคุณภาพและความแตกต่างให้แก่ผู้ที่ชื่นชอบในการแสดง และผู้ที่รักในเสียงดนตรี อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต เพลงแบบประภาส จัดขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, ละครเวทีเรื่อง ชายกลาง, วาไรตี้ทอล์คโชว์ หม่ำออนสเตจ และ คอนเสิร์ต คุณพระช่วยสำแดงสด ณ โรงละครอักษรา ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ชม


วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การสร้างแบรนด์ by Wiboon Joong

ในทุกวันนี้นักธุรกิจสมัยใหม่ส่วนใหญ่ มุ่งประเด็นใน การสร้างแบรนด์ ของสินค้าไม่ว่าในประเทศ หรือต่างประเทศ และกำลังขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ หลายองค์กรให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์อย่างจริงจังและเป็นระบบ มากกว่าเพียงแค่การตลาดแบบเดิมๆ 

วิธีการสร้างแบรนด์ ถ้าคุยกันตามทฤษฎี อาจจะต้องให้ไปอ่านหนังสือที่มีอยู่ตามท้องตลาด แต่สำหรับผมนั้น การสร้างแบรนด์ มีหลักใหญ่ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง ดังนี้...

1. สร้างสัญลักษณ์ตัวแทน สินค้า บริการ สถานที่ คน องค์กร หรือ แม้นแต่ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นชื่อ สัญลักษณ์ที่เป็น Logo คำพูดกินใจสั้นๆ หรือแม้นกระทั่งสี และ การรับสัมผัสต่างๆ โดยสัญลักษณ์ตัวแทน สิ่งเหล่านี้ต้องจดลิขสิทธิ์เพื่อให้มีผลทางกฎหมายบังคับตั้งแต่เนิ่นๆ

คนเรานั้น จะจดจำภาพได้ดีกว่าตัวอักษร แต่สมองเราก็สามารถแปลตัวอักษรให้เกิดภาพและความรู้สึกได้ดีเช่นกัน ดังนั้น การที่เราสร้างให้ภาพหรือ Logo แทนสินค้าหรือบริการ นั่นหมายถึง เรากำลังสร้างตัวแทนเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะของสินค้าที่เรามีอยู่ หรือ แม้นแต่ความรู้สึกที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ ยิ่งเรามี สโลแกน ที่ทำให้ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกตามความเป็นจริง กับ สินค้าหรือบริการที่เราให้ได้ด้วยนั้น จะทำให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถจดจำแบรนด์ของเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น เห็นโลโก้ของ สวนสยาม ที่มีสไลเดอร์ มีคลื่นสีฟ้า ที่แตกต่างจากสระว่ายน้ำทั่วไป และยิ่งมี สโลแกนที่ว่า ทะเลกรุงเทพฯ ยิ่งทำให้ความรู้สึกที่เคยได้ไปเที่ยวที่สวนสยาม เกิดขึ้นในใจของเราได้มาก

เวลาเราสร้างสัญลักษณ์ตัวสินค้าหรือบริการแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การนำไปจดทะเบียน ไม่ว่า คุณจะไปจดก่อน หรือ หลังเริ่มใช้งานก็ตาม แต่อย่าได้รอให้แบรนด์ของเรานั้น ได้รับความนิยมก่อนค่อยจด ไม่อย่างนั้น คุณอาจจะต้องเสียแบรนด์ หรือ สัญลักษณ์ของคุณไปชั่วชีวิต ทั้งๆที่เราสร้างมันกับมือก็ตาม...

2. สร้างคุณค่าความประทับใจให้กับสัญลักษณ์ ควรจะกำหนดเป้าหมายของแบรนด์ว่า เมื่อเห็นแล้วคิดถึงอะไร

สิ่งนี้จะเน้นถึงความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญกับการตีความกับสัญลักษณ์ของเรา สินค้าและบริการจะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างให้แบรนด์นั้นส่งผลกับความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี บางแบรนด์ มี Logo ที่ไม่สวยเท่าไหร่ เรียบง่าย แต่ทำให้รู้สึกว่า เป็นสินค้าคุณภาพ อย่างเช่น American Standard ทำให้เรารู้สึกว่า เป็นมาตรฐานของอเมริกา และ สินค้าของเขาก็ได้มาตรฐาน คุณภาพดี ซึ่งส่งผลให้กับ แบรนด์ได้อย่างยอดเยี่ยม อย่างนี้เป็นต้น...

3. ทำการตลาดสินค้าโดยผ่านแบรนด์ แต่ต้องมีหลักการทำการตลาด เพื่อสนับสนุน แบรนด์ อย่างเช่น คุณภาพสินค้า ราคาของสินค้า ช่องทางของสินค้า หรือแม้นแต่ ความรู้สึกเป็นคนสำคัญที่มีสินค้านั้นๆ

คุณค่าทางด้านจิตใจของกลุ่มเป้าหมายนั้น มีค่ายิ่งสำหรับแบรนด์ ดังนั้น การทำการตลาดทุกครั้ง ต้องนึกถึงแบรนด์ด้วยว่า เรากำลังสร้างภาพลักษณ์ให้กับ สินค้าหรือบริการนั้น ได้ตรงกับความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ หรือว่า เราสร้างให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ในสิ่งที่เราอยากให้เขารับรู้ หรือ รู้สึกอย่างที่ต้องการได้หรือไม่ อย่างเช่น ปากการาคาแพงยี่ห้อต่างๆ ก็จะใช้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ให้แตกต่างออกไป การโฆษณา จะจับกับสื่อที่กลุ่มระดับบนเป็นผู้บริโภค อย่างเช่น หนังสือบนเครื่องบิน สนามบิน เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ ความรู้สึกที่ดี และยิ่ง กลุ่มคนระดับสูงใช้มากเท่าใด ความรู้สึกที่ได้มาครอบครองก็จะทำให้รู้สึกว่า ตนนั้นเป็นบุคคลพิเศษกว่าคนอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้จากปากกาบนกระเป๋าเสื้อของผู้บริหารเป็นต้น ซึ่งถ้าคุณรู้ว่าต้นทุนการผลิตนั้นราคาเท่าใด แล้ว ราคาที่ขายกันนั้นราคาเท่าใด คุณจะบอกได้เลยว่า มูลค่าของคนสำคัญนั้นมีราคาแพงมากๆจริงๆ กับสินค้าที่ส่งเสริมทางด้านจิตใจอย่างนี้...

4. ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางที่ดี ในตำแหน่งที่ดีเหมาะสมที่สุดกับกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อแบรนด์ออกสู่ตลาด ย่อมหนีไม่พ้นกับการสื่อสารให้ตรงกับแบรนด์ ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงการรับประกัน หรือ สัญญาที่ให้ไว้กับแบรนด์ ว่า กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้านั้นจะได้รับตามที่แบรนด์ได้สัญญาทางจิตใจ หรือ แม้นแต่คำกล่าวอ้างต่างๆ เพื่อเสริมให้ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์นั้น มีความรู้สึกที่แนบแน่นมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น หากโฆษณาไปว่า "ราคาที่ถูกกว่า..." ก็ต้องพยายามทำให้คำเหล่านี้เป็นจริงขึ้นมา หากไม่สามารถทำได้ ก็จะทำให้ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์นั้นๆ มีความรู้สึกที่ลดน้อยค่าลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับ จนไม่มีใครเชื่อกับภาพลักษณ์ก็เป็นได้... แต่ที่เหนื่อยที่สุด ก็คือ แบรนด์ที่ใช้กับการบริการ เพราะ แบรนด์นั้น จะฝังความรู้สีกส่วนใหญ่ลงไปกับ แบรนด์ ดีหรือไม่ดี จะมีการบอกต่ออย่างรวดเร็ว อย่างเช่น งานบริการนวดสมุนไพร ที่เป็นชื่อของดารา ก็ทำให้รู้สึกว่า เมื่อทำการนวดอบสมุนไพรของแบรนด์นั้นแล้ว จะทำให้ผิวขาวนวล ผ่อง ซึ่งมันก็เป็นเพียงความรู้สึกทางอ้อม แต่เมื่อมีการเปลี่ยนมือไปเป็นของคนอื่น ค่าลิขสิทธิ์สูงขึ้นมีการลดคุณภาพลง ทำให้มีผลทางตรงกับแบรนด์เช่นกันว่า ทำให้ภาพลักษณ์ผิดไป กลุ่มเป้าหมายก็เปลี่ยนไป 

5. ตอกย้ำความรู้สึกที่ดี ให้กับแบรนด์ สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นคำสัญญาที่ให้ บุคคลที่ดีเยี่ยม ภาพลักษณ์ หรือ แม้นแต่หัวใจของธุรกิจก็ตาม

การสื่อสาร หรือ โฆษณาประชาสัมพันธ์มีผลกับการตอกย้ำความรู้สึกของแบรนด์ทั้งสิ้น สินค้าหรือบริการดีๆมากมาย ลงทุนสร้างชื่อเสียงให้กับสินค้าและบริการไปด้วยเงินมหาศาล แต่ก็ต้องเงียบเหงาไปเมื่อเวลาผ่านไปมากขึ้น ความรู้สึกที่เคยรู้สึกดีก็ลดลง ซึ่งอาจจะต้องเสียเงินเพื่อสร้างชื่อเสียงกลับขึ้นมาใหม่ หรือ ต้องหาช่องทางใหม่ๆ อันเนื่องจากไม่มีการต่อเนื่องการตอกย้ำความรู้สีกที่มีต่อแบรนด์นั้นๆ ดังนั้น การสร้างชื่ออาจจะยาก แต่การรักษาชื่อเสียง และ ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์นั้นๆ ยากกว่า ซึ่งต้องอาศัยเงินและ ปัจจัยต่างๆเป็นองค์ประกอบอย่างมาก

6. ตรวจวัดความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายกับแบรนด์ที่เราสร้างขึ้น เพื่อทำการบริหารแบรนด์ได้ตรงกับความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายต่อไป

การจะตอกย้ำความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายให้ถูกจุดนั้น เราควรจะศึกษาพฤติกรรม และความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายที่มีกับแบรนด์นั้นๆ ด้วย อย่าใช้ความรู้สึกของตนเองเป็นตัวตัดสินว่า คนอื่นคิดอย่างไร เพราะว่า ความรู้สึกของเจ้าของกิจการมักจะเข้าข้างสินค้าและบริการของตนเองอยู่เสมอ ดังนั้น การตรวจวัดความรู้สึกต่างๆจึงควรใช้งานวิจัย เพื่อทดสอบความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายว่ามีความรู้สึกเช่นใดกับแบรนด์ของเราจริงๆ อย่างเช่น ร้านสะเต๊กชื่อดังที่ขาย เนื้อย่างเป็นหลัก เมื่อทำการวิจัยแบรนด์แล้วพบว่า กลุ่มเป้าหมายไม่ได้ชื่นชมกับสินค้าหลักของตน แต่กลับไปชื่นชอบ สลัดบาร์ที่ตักได้ไม่จำกัด ซึ่งต้องเน้นการตลาดไปอีกทาง หรือ เปลี่ยนทัศนคติกับแบรนด์ไปอีกทาง เพื่อรองรับกับความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายเป็นต้น...

7. เมื่อแบรนด์อยู่ในใจกลุ่มเป้าหมาย ควรจะ สร้างส่วนขยายของแบรนด์ เพิ่มเพื่อสร้างความรู้สึกใหม่ๆให้กับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้มีความรู้สึกที่ไม่จำเจกับแบรนด์เดิมๆ หรือ ภาพลักษณ์เดิมๆ และ ต้องตรวจวัดความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายกับ ส่วนขยายของแบรนด์ว่า มีผลกับกลุ่มเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

แบรนด์บางแบรนด์จะกลายเป็นคุณลักษณะหลักๆของสินค้า หรือ บ่งบอกถึง บริษัทฯ ไป ดังนั้น การสร้างส่วนขยายของแบรนด์ จึงจำเป็นต้องมีเพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าทางจิตใจอีกมุมหนึ่ง หรือ เน้นในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ อย่างเช่น TOYOTA จะนึกถึงรถยนต์ และ รถกระบะ ทันที แต่เวลาพุดถึง TOYOTA CAMRY ก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นรถเก๋งที่ใหญ่กว่า TOYOTA CORONA หรือใกล้เคียงกัน และจะรู้สึกว่า TOYOTA COROLLA เล็กกว่า แต่ก็ใหญ่กว่า TOYOTA VIOS แต่ถ้าพูดถึง TOYOTA VEGO ก็จะกลายเป็นรถกระบะไป ซึ่งชื่อที่มาเสริมเหล่านี้แหละคือชื่อส่วนขยายของแบรนด์ โดยตัวมันเองก็อาจจะกลายมาเป็นแบรนด์ได้เองได้ด้วย...

8. ป้องกันไม่ให้แบรนด์ มีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดี และ ปรับปรุง ให้แบรนด์มีการตอกย้ำคุณค่าในรูปแบบใหม่ๆอยู่เสมอ ใช้การตลาดในการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ทันสมัย

สินค้าบางสินค้ากว่าจะสร้างแบรนด์มาได้ใช้เวลานานหลายปี แต่เมื่อมีเหตุการณ์ที่ผันผวน ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้านั้น จะเปลี่ยนแปลงไปในทันที ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้มีให้เห็นมากมาย คนเราจะจดจำสิ่งที่ไม่ดีได้รวดเร็ว กว่าการจดจำในสิ่งที่ดีๆ ดังนั้น เมื่อมีเหตุเกิดขี้นกับแบรนด์ ต้องแก้เกมส์อย่างรวดเร็ว แต่หากไม่มีเรื่องอะไรมากระทบกับแบรนด์ ก็ต้องปรับปรุงและตอกย้ำแบรนด์อยู่เป็นประจำ เพื่อให้เขารู้สึกว่า แบรนด์นี้ทันสมัย และ เป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายควรที่จะหาซื้อไว้

9. เมื่อมีสินค้าใหม่ บริการใหม่ ต้องพยายามทำให้สินค้าใหม่ หรือ บริการใหม่นั้น มีความรู้สึก หรือ สามารถผสานความรู้สึกที่กลมกลืนกับ แบรนด์เดิมให้ได้

เมื่อมีสินค้าใหม่ๆ หรือ บริการใหม่ๆ และ ยังใช้แบรนด์เดิมๆ ต้องพยายามผสมผสานความรู้สึกเดิมๆของลูกค้า กับคุณสมบัติของสินค้าใหม่ หรือ บริการใหม่ ให้มีความรู้สึกที่ใกล้เคียงกัน อย่าแตกต่างกันมาก ซึ่งหากจะต้องการสร้างให้แตกต่างกัน ก็ควรสร้างเป็นแบรนด์ใหม่ไปเลยเพื่อใช้ในการขยายตลาดอื่นๆไปได้อีก...

10. นำแบรนด์เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ หรือ ตลาดใหม่ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายใหม่ รู้จัก โดยใช้ฐานเก่าเป็นตัวสนับสนุน

แบรนด์ใดๆ ย่อมมีกลุ่มเป้าหมายของตนเอง แต่ในบางครั้ง กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์อาจจะสามารถขยายออกไปได้ อย่างเช่น การขยายออกสู่ต่างประเทศ เป็นต้น อย่างเช่น กระทิงแดง หรือ วัวแดง ก็ขยายกลุ่มเป้าหมายของตนเองออกไป ไปสุ่ตลาดใหม่ แต่ก็ยังมีตลาดในเมืองไทย และไม่ได้ทิ้งลูกค้าเก่าเพราะเป็นฐานลูกค้าที่ดี และ เงินส่วนใหญ่ก็มาจากลุกค้าในเมืองไทย ตัวอย่างของการทอดทิ้งฐานลูกค้าเก่า แล้วต้องการไปหาฐานลูกค้าใหม่ โดยไม่ใยดีกับฐานลูกค้าเก่า ก็มีให้เห็น อย่างเช่น กาแฟในปั๊ม เป็นต้น...

การสร้างแบรด์ที่ผมกล่าวมานี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลที่คุณ แบ่งกัน ถามความคิดเห็นผมในบล๊อกเท่านั้น มันอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี แต่ผมก็อยากจะอธิบายแค่ความรู้สึกถึงวิธีการสร้างแบรนด์ที่มีอยู่ในหัวผมในตอนนี้เท่านั้น... 

Create Date : 14 กันยายน 2548
Last Update : 14 กันยายน 2548 21:38:46
ที่มา  : 
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wbj&month=09-2005&date=14&group=8&gblog=14