วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Economic Talk – อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และความสำคัญต่อเศรษฐกิจ & การลงทุน


17 MARCH 2010 22,038 VIEWS 14 COMMENTS
WRITTEN BY: 
.
(ปรับปรุงข้อมูลบางส่วน ณ 22 มิถุนายน 2555)

• นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

.
หลายท่านคงเคยได้ยินข่าวของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอาจจะส่งสัยว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทยในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ ภาครัฐจะกำหนดนโยบายที่สำคัญ 2 ประเภทคือ 1) นโยบายการคลัง และ 2) นโยบายการเงิน
.1) ในส่วนของนโยบายการคลังซึ่งมีกระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ จะดำเนินการผ่านเครื่องมือที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
.
1.1) การจัดเก็บภาษี (รายได้ภาครัฐ) และ
1.2) งบประมาณแผ่นดิน (รายจ่ายภาครัฐ)
.
ซึ่งหากภาครัฐต้องใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ก็จะถือเป็นการใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล โดยจะต้องมีการกู้ยืมโดยการออกพันธบัตรเพื่อนำเงินมาชดเชยส่วนต่าง ในทางกลับกัน หากภาครัฐมีรายได้สูงแต่กำหนดให้มีรายจ่ายต่ำกว่า ก็จะเป็นการใช้นโนบายการคลังแบบเกินดุล ความจำเป็นในการออกพันธบัตรก็จะลดลง
.
2) ทางด้านนโยบายการเงินซึ่งมีธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง จะดำเนินการผ่านเครื่องมือหลักๆ 2 ประเภท (ซึ่งความจริงยังมีอีกหลายเครื่องมือแต่ขอละไว้ก่อน) คือ
.
2.1) การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยแบงค์ชาติจะทำหน้าที่เป็นเจ้ามือคอยซื้อขายเงินต่างประเทศ (หลักๆ คือเงินสกุล USD) เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ (หมายความว่าขึ้นลงได้ตามแนวโน้ม แต่ไม่ผันผวนรุนแรง) และความเหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น และ
.
2.2) การบริหารอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคณะกรรมการของแบงค์ชาติจะจัดตั้งคณะกรรมการย่อยขึ้นมาหนึ่งชุด คือ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)เพื่อทำหน้าที่พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมโดย กนง.มักใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (ลดดอกเบี้ยให้ต่ำ)ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อลดต่ำลง เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชน จนกระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้ในทางกลับกัน ในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโต ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นจนทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น กนง.มักจะใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว (เพิ่มดอกเบี้ยให้สูง)เพื่อให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงจนดึงเงินเฟ้อให้ลดลงได้ (หากเงินเฟ้อสูงเกินไปจะทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง เนื่องจากของแพงขึ้นแต่มีตัวเงินเท่าเดิม)
.
ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.จะเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของการทำธุรกรรมขั้นพื้นฐานระยะสั้นกับสถาบันการเงินต่างๆ ที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันบัตรระยะเวลา 1 วัน (1-Day Repurchase Rate หรือ 1-Day Repo Rate) กล่าวคือ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีสภาพคล่องเหลือก็จะนำเงินไปให้แบงค์ชาติกู้ยืมเป็นระยะเวลา 1 วัน ซึ่งแบงค์ชาติจะโอนพันธบัตรภาครัฐให้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกัน โดยแบงค์ชาติสัญญาว่าจะ “รับซื้อคืนพันธบัตร” ที่ใช้เป็นหลักประกัน กลับมาจากสถาบันการเงินพร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลา 1 วันให้ โดยดอกเบี้ยนั้นก็คืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยนั่นเอง
.
อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดไว้เป็นแกนอาจไม่เท่ากับอัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันบัตรระยะเวลา 1 วันเสมอไป เนื่องแบงค์ชาติจะใช้วิธีให้สถาบันการเงินเสนออัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (ประมูล) โดยผู้ที่ต้องการดอกเบี้ยต่ำสุดจะได้ทำธุรกรรมนี้กับแบงค์ชาติก่อนจนครบจำนวนที่แบงค์ชาติกำหนดไว้ในแต่ละวัน และเนื่องจากในปัจจุบันมีสภาพคล่องในสถาบันการเงินเหลือค่อนข้างมาก (Over Demand) ทำให้ 1-Day Repo Rate ในปัจจุบันเท่ากับ 2.97% ต่อปี ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดไว้ คือ 3.00% ต่อปี
.
ในการประชุมกนง.ทุกครั้ง (ประชุมทุก 6 สัปดาห์ ปีละ 8 ครั้ง) จะมีการพิจารณาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับอัตราเงินเฟ้อ และบางครั้งอาจพิจารณาปัจจัยด้านการเมืองควบคู่ไปด้วย เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สามารถรักษาเป้าหมายนโยบายการเงินของประเทศไว้ได้ โดยเป้าหมายนโยบายการเงินของประทศสำหรับปี 2555 คือการควบคุม “อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน [ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสด] เฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 – 3.0 ต่อปี” (อ่านเป้าหมายนโยบายการเงินประจำปี 2555 ฉบับเต็มได้ที่นี่:http://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Target/Documents/AnnounceMPC_2555.pdf)
เช่นการประชุมกนง.เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา กนง.ยังคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.00% ต่อปี ด้วยเหตุดังนี้
“แรงกดดันเงินเฟ้อจากต้นทุนการผลิตแผ่วลงตามราคานํ้ามันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ภายใต้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกท่ีอ่อนแอลง แต่เศรษฐกิจในประเทศท่ีขยายตัวได้ดีทําให้การส่งผ่านของต้นทุนไปยังราคาสินค้าและบริการมีอยู่ต่อเน่ือง ขณะท่ีการปรับค่าแรงท่ีผ่านมาและการปรับโครงสร้างราคาพลังงานในอนาคต ทําให้การคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยรวมแล้วแรงกดดันเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า
คณะกรรมการฯ [กนง.] ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในขณะนี้มีความเสี่ยงด้านการขยายตัวมากกว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ … จึงเห็นควรดําเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนต่อไป เื่พื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงและรองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี”
(อ่านสรุปผลการประชุมกนง.ฉบับเต็ม ได้ที่นี่: http://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Documents/MPC_42555.pdf)


กราฟอัตราดอกเบี้ยนโยบาย  (Policy Rate) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป  (Headline Inflation) และเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ย้อนหลัง 9 ปี
.
จากผลการประชุมข้างต้นเมื่อกนง.เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มขยายตัว และเงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้น (เส้นสีแดงและชมพู) กำลังซื้อประชาชนเริ่มลดลง –> ก็จะเริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (เส้นสีน้ำเงิน) –> เพื่อส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ซึ่งในทางปฏิบัติธนาคารอาจปรับดอกเบี้ยเงินฝาก (ต้นทุน) ขึ้นเล็กน้อย แต่ปรับดอกเบี้ยเงินกู้ (รายได้) ขึ้นมากกว่า –> ทำให้ประชาชนออมเงินมากขึ้น (ดอกเบี้ยเงินฝากดีขึ้น) และกู้ยืมน้อยลง (ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น) –> เป็นเหตุให้การใช้จ่ายครัวเรือนลดลง (เอาเงินไปออมมากขึ้น) และการลงทุนลดลง (ต้นทุนการกู้ยืมเพื่อขยายธุรกิจสูงขึ้น) –> จนทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอตัวลง
.
ในทางกลับกัน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มหดตัวและเงินเฟ้อต่ำลง –> กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย –> เพื่อส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยทั้งสองขาลง –> ประชาชนใช้จ่ายมากขึ้น (ฝากแบงค์แล้วได้ดอกเบี้ยต่ำ) และธุรกิจกู้เงินได้มากขึ้น (ต้นทุนเงินต่ำลง) –> กิจกรรมทางเศรษฐกิจ (การใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุน) ก็จะได้รับการกระตุ้น จนเป็นผลให้เศรษฐกิจกลับมาขยาย ตัวได้อีกครั้ง จนครบวัฎจักร
(วงจรข้างต้นเป็นตัวอย่างแบบไม่ซับซ้อนซึ่งกล่าวถึงตัวแปรไม่มาก เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างง่าย แต่ในความจริงมีตัวแปรอีกมากที่เป็นปัจจัยในการบริหารเศรษฐกิจระดับประเทศ ทั้งอัตราแลกเปลี่ยน ดุลการค้า ดุลการคลัง กระแสเงินทุนไหลเข้าออก การเมือง ฯลฯ)

• ความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและ SET Index

กราฟ SET Index, 1-Day Repo Rate และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี ช่วงปี 2001 ถึง 2010 
.
จากกราฟพบว่า
.
1) โดยทั่วไปอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นพื้นฐานที่ใช้กำหนดทิศ ทางอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดในประเทศ รวมทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลด้วย แต่อย่างไรก็ดี นักลงทุนในตลาดตราสารหนี้จะคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไว้ล่วงหน้า ดังนั้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะปรับตัวก่อนการเปลี่ยนแปลงอัตราอัตราดอกเบี้ย นโยบาย (วงกลมสีดำ) เช่นกลางปี 2003 และ 2009 ตามรูป โดย 1-Day Repo Rate คงที่ที่ประมาณ 1% ตั้งแต่ มิ.ย.03 จนถึง มิ.ย.04 แต่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีในช่วงเดียวกันได้ปรับขึ้นจาก 1% ไปที่ 2.2% และเมื่อเร็วๆนี้ก็เช่นเดียวกัน 1-Day Repo Rate คงที่ที่ประมาณ 1.18% มาตั้งแต่ เม.ย.09 จนถึงปัจจุบัน แต่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีในช่วงเดียวกันได้ปรับขึ้นจาก 1.2% ไปที่ 2.3% แล้ว (เริ่มเห็นว่าดอกเบี้ยนโนบายจะปรับขึ้นแล้ว รีบขายพันธบัตรออกไปก่อนดีกว่า เพราะดอกเบี้ยขึ้นแล้วมูลค่าพันธบัตรจะลดลง ดังนั้น ขายก่อน = กำไรมากกว่าและขาดทุนน้อยกว่า)
.
2) หุ้นจะเริ่มฟื้นตัวก่อนที่ดอกเบี้ยนโยบายจะถึงจุดต่ำสุด (วงกลมสีม่วง) จะเห็นได้จากช่วงต้นปี 2003 และต้นปี 2009 ที่ดอกเบี้ยยังคงลดลงต่อเนื่อง แต่ SET Index เริ่มกลับตัวเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นแล้ว ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยเหตุผลเดียวกันคือ นักลงทุนจะตัดสินใจโดยใช้การคาดการณ์ล่วงหน้า (เริ่มเห็นก้นเหวแล้ว รีบซื้อหุ้นก่อนดีกว่า)
.
ขณะนี้ กนง. ยังกังวลเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะหนี้ภาครัฐในยูโรโซน ซึ่งหากปัญหาต่างๆ คลี่คลาย เศรษฐกิจโลกกลับมาเติบโตดี จนเศรษฐกิจไทยร้อนแรงตาม ในระยะต่อไปก็อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นตามไปด้วย
.
ที่มาของข้อมูลดิบ: www.bot.or.th, Bisnews

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เล่นหุ้น สารบัญ

http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/all-blog-post.html

เล่นหุ้น บทที่1

                     จิตวิทยาในการเล่นหุ้น จากหนังสือ คัมภีร์หุ้น ทำไมหลายคนซื้อหุ้นตัวไหนตัวนั้นจะลง แต่พอขายแล้วหุ้นกลับขึ้น หลายคนที่เล่นหุ้นในปัจจุบันจะรู้สึกเหมือนโชคไม่เข้าข้าง จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องของดวงหรืออะไรกันแน่ ทฤษฎีการลงทุนต่างๆ ควรจะใช้ได้ดี เพราะหลักการลงทุนผู้ลงทุนควรจะเลือกลงทุนสิ่่งที่ดีและอยากได้กำไรไม่อยาก ขาดทุน แต่จริงๆกลยุทธิ์ต่างๆกลับใช้ไม่ได้ผลเพราะนักลงทุนแต่ละคนเองมี"อคติ"ยอม ขาดทุน หากคิดว่าหุ้นจะลงต่อ หรือยอมซื้อของที่แพงมากหากคิดว่ามันจะขึ้นไปต่อ สิ่งที่นักลงทุนทุกคนใช้ จริงๆจึงเป็นการ"คาดคะเน" ใช้ "สมอง"ประมวลสิ่งต่างๆจากข่าวสารและปัจจัยโดยรอบแต่หารู้ไม่ว่า สมองมีกระบวนการตัดสินใจลึกๆภายในที่ขึ้นอยู่กับ"อารมณ์"มากกว่า "เหตผล"ยกตัวอย่างการเลือกคู่ครองที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตผลแม้คนที่เรียน เก่ง มีสมองดีที่สุดก็มักใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิต มากกว่าเหตผล

             นาย เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2002 ผู้ที่ศึกษาการเงินเชิงพฤติกรรมเคยกล่าวไว้ว่า "นักลงทุนทุกคนมีกล่องดำที่เป็นส่วนประมวลผลการตัดสินใจอยู่ในสมองโดยไม่มี ใครรู้ว่ากล่องดำอันนี้มีวิธีในการตัดสินใจอย่างไร แต่กระบวนการตัดสินใจนี้ไม่มีเหตผล เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของจิตใจเป็นหลัก" เมื่อคนแต่ละคนไม่ได้ใช้ความมีเหตุ มีผลในการคิดแล้วการลงทุนที่เป็นสิ่งสะท้อนความคิดของนักลงทุนแต่ละคน ย่อมไม่มีเหตุผล ตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้เลย มีคนเคยตั้งคำถามว่า ทำไมคนที่เรียนด้านการลงทุน เก่งที่ 1-10 อันดับของระดับมหาวิทยาลัย Wharton กับไม่เคยมีชื่อเสียงในวงการลงทุนเลย ทำไมคนที่ IQ สูงขนาดนั้นถึงได้ไม่ประสบผลสำเร็จในตลาดหุ้นกัน ย้อนกลับมาที่ตลาดหุ้นไทยจะเห็นว่า คนที่ยิ่งฉลาด ยิ่งขาดทุนมากในตลาดหุ้น แต่คนที่ฉลาดปานกลางแต่หากมี EQ สูงแล้ว กลับสามารถประสบความสำเร็จได้มากกว่าเหตผลทั้งหมดจะค่อยๆถูกเฉลยในบทต่อๆไป ลองดูเหตการเหล่านี้

 Ex1. คุณคิดว่าบริษัท A ผลประกอบการณ์ออกมาดีแน่ เลยซื้อหุ้นที่ราคาสิบบาท ตั้งใจจะขายในระยะสั้นๆที่่ 12 บาท เมื่อผลประกอบการณ์ออก แต่พอผลประกอบการณ์ออกมาดีดังคาดไว้ แต่ราคาหุ้นตกลงไป 8 บาท คุณทำใจขายทิ้งไม่ได้ (Avoid Regret) และคิดว่าหากราคาหุ้นกลับมาแค่เพียง10 บาท เท่าทุนก็จะขายไป ( Referance Point)

 EX2. คุณซื้อหุ้นที่บริษัท B ที่ราคา 10 บาทจำนวน หมื่น หุ้น พอราคาหุ้นวิ่งไป 12 บาท คุณขายทำกำไรไป 20000 บาท พอราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป 15 บาท คุณรู้สึกเสียดายอย่างมาก(เจ็บใจที่ขายเร็ว ขายหมู) พอราคาหุ้นเริ่มปรับตัวลงมาที่ 13 บาท คุณซื้อหุ้นกลับมาแต่คราวนี้ซื้อไป 20000 หุ้นเลย เพื่อเอากำไรเยอะๆ (โลภ เพราะพึ่งได้กำไรมา) ซื้อแล้วหุ้นวิ่งกลับไป 10 บาท เหมือนเดิม ปรากฏว่าเบ็ดเสร็จแล้วคุณขาดทุน 40000 บาท (งง?)

             แม้ว่าสิ่งเหล่านี้ท่านเคยประสบมาหรือเคยได้รับคำเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าโปรดอย่าตามหลัง "มวลชน" แบบหลับหูหลับตา อันที่จริงคำว่า"มวลชน"นั้นไม่ใช่อื่นใด หากแต่เป็น"เรา "และ "ท่าน" นั้นเอง พฤติกรรมของ "มวลชน" ก็คือพฤติกรรมของคนทั่วไปหากมวลชนตัดสินใจผิดพลาดหรือเกิดปฏิกริยาทางอารมณ์ อย่างรุนแรงเพราะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เราและท่าน ก็ตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นลำพังการคิดว่าเราต้องปฏิบัติให้แตกต่างจากคนอื่นไม่เกิดประโยชน์ อะไร เพราะเรื่องเหล่านี้คนส่วนใหญ่ต่างทราบดีว่าควรทำอะไร ยกตัวอย่าง การสูบบุหรี่ ทุกคนทราบดีกว่า การเลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่หากไม่"ปฏิบัติ"ก็ไม่มีทางก้าวพ้นจาก อุปสรรคทางความคิดและอารมณ์ที่ส่งผลให้เราไม่ประสบผลสำเร็จในตลาดหุ้นได้ ใน"วิกฤติ มีโอกาส" แต่จะมีซักกี่คน ที่มองข้ามผ่านเมฆหมอกแห่งความกังวลเห็นถึงวันข้างหน้าที่สดใสได้

                  ในเมื่อบรรยากาศทั้งหมด มันไม่เป็นเช่นนั้น ทุกอย่างดูจะแย่ลง แย่ลง คนเรามองเห็นสิ่งที่ใจรู้สึกหากบรรยากาศรอบตัวร้อนเราก็จะเห็นแค่ความร้อน เราจะนึกถึงเวลาอากาศเย็นไม่ถูกเลย สิ่งเหล่านี้เป็นวิทยาสาสตร์ที่พิสูจน์แล้วว่า คนเราใช้ความรู้สึก ณ ขณะนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการตัดสินใจเรื่องใดๆ เช่น เวลาคนหิวจะชอปปิ้งมากกว่าเวลาอิ่มเป็นต้น อารมณ์มีผลต่อการตัดสินใจ คุณ อาจคิดว่าอารมณ์ดีหรืออารมณ์เสีย ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ แต่จริงๆไม่ใช่แม้คนที่มีเหตผลที่สุดหากขาดซึ่งอารมณ์ ก็จะไม่สามารถตัดสินใจใดๆได้

                โดยเคยมีการศึกษาเรื่องนี้โดยนักประสาทวิทยา ชื่อ แอนโทนิโอ ดามาชิโอ ได้รายงานว่ามีคนไข้ที่สมองส่วน Ventromedical Frontal Crotices ถูกทำลายซึ่้งเป็นสมองส่วนที่ทำให้เกิดอารมณ์ แต่สมองส่วนความจำความฉลาดและความสามารถในการใช้เหตผลยังเป็นปกติอยู่ แต่จากการทดลองหลายครั้งพบว่า การปราศจากอารมณ์ในกระบวนการตัดสินใจได้ทำลายความสามารถในการตัดสินใจอย่าง สมเหตสมผล หมดไปด้วย ดังนั้นหากสถานการณ์ไม่ดี ทิศทางที่สมองที่คิดได้ จากข่าวสารและความรู้สึกคือ สิ่งที่ดำเนินต่อไป ของความไม่ดี จะให้สมองสั่งการว่า "ดี" จะเป็นการยากสมองจะสั่งการขัดแย้งออกมาทันทีว่า "ดีจริงหรือ" ใช้เหตผลอะไรที่คิดว่ามันจะดี ? ดังนั้นการซื้อหุ้นตอนที่บรรยากาศร้ายสุด แม้แต่คุณเองยังกลัว คงทำได้ยาก เพราะสมองจะคิดขัดแย้งออกมาว่า "จริงหรือ คราวนี้อาจลงยาวนะ" เครื่องมือเทคนิคกับอารมณ์ บางคนบอกว่าหากเราไม่ใช้อารมณ์เข้ามาในการลงทุนหุ้นแต่เชื่อเฉพาะเครื่องมือ ทางเทคนิคซึ่งเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้อ้างอิงใดๆเกี่ยวกับอารมณ์ของตลาดล่ะ จะได้ผลหรือไม่?

คำตอบแรก ก็ต้องบอกว่าท่านที่คิดแบบนี้ ยังไม่เข้าใจเครื่องเทคนิคที่ดีพอ เพราะจริงๆแล้วเครื่องมือทางเทคนิคคือการใช้หลักสถิติศาสตร์ถอดแบบสภาพความ เป็นจริงในตลาดหุ้นแล้วนำมาพยากรณ์ความเป็นไปได้ต่อไป ซึ่งความเป็นจริงในตลาดหุ้นที่ถูกนำมาถอดแบบนั้นเต็มไปด้วยอารมณ์"ความกลัว" และ "ความโลภ" ดังนั้นการใช้เครื่องมือก็ยังอิงกับอารมณ์ของตลาดอยู่ดี

 คำตอบที่สอง ขออ้างถึงคุณ J. Wells wilder เจ้าของเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคยอดนิยม เช่น RSI (Relative Strength Index) PAR(Parabolic Sar) MOM ( Momentum) Volatility( แรงกระเพื่อมของระดับราคา) ซึ่งเครื่องมือทางเทคนิคเหล่านี้ สร้างชื่อเสียงให้กับ Wilder เป็นอย่างมาก แต่ในภายหลัง เขาได้ออกบทความใหม่ ที่ชื่อว่า Adam's Theory เป็นการปฏิเสธเครื่องมือทางเทคนิคของเขาที่คิดค้นมาก่อนหน้า โดยเขาบอกว่า ทฤษฎีใหม่นี้เป็นการตกผลึกในความคิด ความเข้าใจ ในเรื่องการลงทุน หลายสิบปีที่เขามี ทฤษฎี Adam ตั้งอยู่บนข้อสรุปที่ว่า"ไม่มีเครื่องมือวิเคราะห์อันไหนที่สมบูรณ์ในตัว ที่สามารถชี้นำการตัดสินใจ ลงทุนได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง 100% แต่เครื่องมือแต่ละชิ้นที่มีอยู่ในวงการ ต่างมีข้อบกพร่องในตัวเองไม่อาจ"จับตลาด"จนอยู่หมัดได้ ด้วยเหตุว่า ตลาดนั้นไม่เคยหยุดนิ่ง ไม่มีลักษณะตายตัว แต่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่นได้ตลอดเวลา เขาตั้งคำถามว่า "หากเครื่องมือเหล่านั้นแม่นยำจริง ทำไมนักลงทุน ที่ใช้เครื่องมือเหล่านั้น จึงยังประสบความขาดทุนอยู่ เครื่องมือเหล่านั้นจะวิเคราะห์เฉพาะจุด ไม่ผิดกับตาดบอด คลำช้าง ไม่เห็นภาพรวมของตลาดหรือของตัวหุ้นนั้นๆ มันไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ผันแปรอยู่เสมอของตลาดหุ้นได้ " ดังนั้นแม้เครื่องมือต่างอาจจะไม่มีความสมบูรณ์ในตัวมัน แต่หากเราเข้าใขอารมณ์ตลาด มาผสมผสานการ การวางแผน การลงทุนที่เข้าใจหลักจิตวิทยามวลชน การเล่นหุ้นจะทำได้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีแก้ไขปัญหาเรื่องอารมณ์นั้น จากหนังสือหลายๆเล่ม พอสรุปเหมือนกันได้ดังนี้ อ่านต่อบทความต่อไปครับ


Credit:www.9professionaltrader.blogspot.com จิตวิทยาในการเล่นหุ้น | Forex Trading Blog สอนเทรด Forex - แหล่งศึกษาข้อมูล Forex และสอน Trade Forex แบบมืออาชีพ Under Creative Commons License: Attribution

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาวะผู้นำ (Leadership)

ภาวะผู้นำ  (Leadership)

 ความหมายของภาวะผู้นำ 
        ภาวะผู้นำ(Leadership) หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary,1985 : 719) ซึ่งเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ
ภาวะผู้นำได้รับความสนใจและศึกษามานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาเรื่องของภาวะผู้นำนั้น จะศึกษาตั้งแต่

คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ
 อำนาจ(Power) ของผู้นำ
พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่างๆ

 ในปัจจุบันได้มีให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลากหลายและแตกต่างกันดังนี้
 - ภาวะผู้นำคือ ความคิดริเริ่มและธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างของความคาดหวังและความสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกของกลุ่ม (Stogdill,1974 : 411)
 - ภาวะผู้นำคือ ความสามารถที่จะชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ หรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อให้มุ่งไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ (McFarland, 1979 : 303)
 - ภาวะผู้นำคือ ศิลปะในการชี้แนะลูกน้อง หรือผู้ร่วมงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้น และเต็มใจ (Schwartz, 1980 : 491)
 - ภาวะผู้นำคือ กระบวนการที่บุคคลใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุความต้องการของกลุ่ม หรือจุดมุ่งหมายขององค์การ (Mitchell and Larson, Jr., 1987 : 435)
 - ภาวะผู้นำเป็นเรื่องของศิลปะของการใช้อิทธิพล หรือกระบวนการใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่นเพื่อให้เขามีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของกลุ่ม(Kootz and Weihrich, 1988 : 437)
 - ภาวะผู้นำเป็นความสามารถในการใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Robbins, 1989 : 437)
 - ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการของการชี้แนะ และอิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกของกลุ่ม (Stoner and Freeman, 1989 : 459)
 - ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง(ผู้นำ) ใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้นชี้นำให้บุคคลอื่น(ผู้ตาม) มีความกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง (พยอม วงศ์สารศรี, 2534 : 196)

 กวี วงศ์พุฒ(2535 : 14-15) ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำไว้ 5 ประการ คือ
1. ผู้นำหมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม เปรียบเสมือนแกนของกลุ่ม เป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกลุ่มสูง
2. ผู้นำหมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือจุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำ ทั้งนี้รวมถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย
3. ผู้นำหมายถึง บุคคลที่สมาชิกส่วนใหญ่คัดเลือกหรือยกให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่ม ซึ่งเป็นไปโดยอาศัยลักษณะทางสังคม มิติของบุคคลเป็นฐาน และสามารถแสดงพฤติกรรมของผู้นำได้
4. ผู้นำหมายถึง บุคคลซื่งมีคุณสมบัติเฉพาะอย่าง คือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด
5. ผู้นำหมายถึง บุคคลซึ่งสามารถนำกลุ่มไปในทางที่ต้องการ เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วม และเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแสดงบทบาท หรือพฤติกรรมการเป็นผู้นำ

       จากความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าแนวคิดส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคน และสมาชิกของกลุ่มมีความสัมพันธ์ภายในต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ในการนี้จะมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่าถูกกำหนดหรือยอมรับให้เป็นผู้นำ (Leader) เนื่องจากจะมีความแตกต่างในด้านต่างๆ จากบุคคลอื่นๆ ของกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นผู้ตาม(Followers) หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง(Subordinates) หรือผู้ปฏิบัติ สำหรับความหมายของภาวะผู้นำเกือบทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพล ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้นำ(Leader) พยายามจะมีอิทธิพลต่อผู้ตาม(Followers) ในกลุ่มหรือบุคคลอื่นๆ เพื่อให้มีทัศนคติ พฤติกรรมและอื่นๆ ไปในทิศทางที่ทำให้จุดมุ่งหมายของกลุ่มหรือองค์กรประสบความสำเร็จ
      ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำ(Leadership) คือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าพยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์กรเป็นเป้าหมาย

ประเภทของผู้นำ
                    จากการจำแนกประเภทของผู้นำ อาจจำแนกโดยอธิบายให้เห็นถึงการเกิดผู้นำว่าเกิดขึ้นได้ 2 ประเภท คือ
1. จำแนกโดยสถานการณ์และโดยตำแหน่ง
2. จำแนกโดยลักษณะในการบริหาร ซึ่งมี 3 ประเภท ซึ่งจะเน้นที่พฤติกรรมของผู้นำเป็นสำคัญว่าผู้นำมีพฤติกรรมเช่นไรดังนี้
 - ผู้นำแบบใช้พระเดช หมายถึงผู้นำที่ยึดเอากฎหมาย ระเบียบแบบแผนเป็นที่ตั้ง
 - ผู้นำแบบใช้พระคุณ หมายถึงผู้นำที่มีอำนาจและศิลปะในการที่จะสามารถจูงใจให้บุคคลทั้งหลายทั้งปวงปฏิบัติตามที่ตนประสงค์
 - ผู้นำแบบสัญลักษณ์ หมายถึงผู้นำที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ของผู้อยู่ในฐานะตำแหน่งที่ควรแก่การเคารพนับถือ
           ถ้าพิจารณาผู้นำแบบใช้พระเดชจะพบว่า ตรงกับประเภทของภาวะผู้นำคือ ผู้นำประเภทนิเสธ ส่วนผู้นำโดยตำแหน่งก็มักจะมีพฤติกรรมแบบผู้นำแบบใช้พระเดช เป็นส่วนมาก คือเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ก็มักยึดเอากฎหมายและระเบียบแบบแผนเป็นที่ตั้ง แต่ก็มีบ้างที่ใช้พระคุณ
          ส่วนผู้นำแบบใช้พระคุณนั้นตรงกับ ผู้นำประเภทปฏิฐาน และผู้นำโดยสถานการณ์ เพราะเป็นผู้นำที่ทำให้ผู้ร่วมงานเลื่อมใสศรัทธา และเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมงานเหมือนๆ กัน ทั้งยังเป็นผู้นำที่อาจจะไม่ได้รับการแต่งตั้งตามกฏหมายอีกด้วย
        ลักษณะของภาวะผู้นำ มิทเชล และลาร์สัน จูเนียร์ (Michell and Larson, Jr., 1987 : 435-436) ได้ชี้ให้เห็นองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ในการพิจารณาว่าผู้นำใดมีภาวะผู้นำหรือไม่ ได้แก่
1.ผู้นำเป็นกระบวนการ 
 2.มีระดับความถูกต้องของการใช้อิทธิพล 
 3.มีความสำเร็จของจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ 

1. ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการ ของการใช้อิทธิพล ผู้นำจะพยายามมีอิทธิพลเหนือผู้ตาม เพื่อให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามต้องการ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์กรเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่จะพึงมีภาวะผู้นำได้โดยที่ไม่ได้มีกระบวนการทำใดๆเป็นกระบวนการ(Process) ให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่น ดังนั้นผู้นำทางการแต่งตั้ง เช่นผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการ อาจจะมีภาวะผู้นำหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่ามีลักษณะทั้ง 3 ประการหรือเปล่า ในทางตรงข้ามผู้ที่แสดงภาวะผู้นำอาจจะไม่เป็นผู้ที่เป็นแบบทางการ แต่มีองค์ประกอบ 3 ประการนั้น
 2. ภาวะผู้นำนอกจากจะเป็นกระบวนการแล้ว ภาวะผู้นำจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อผู้ตามยอมให้ใช้อิทธิพลต่อตัวเขา ซึ่งโดยทั่วไปก็ต้องพิจารณาถึงระดับความถูกต้องของอิทธิพลที่ใช้ด้วยว่า ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเข้าขู่เข็ญ หรือบีบบังคับให้ทำตาม เพราะถ้าเป็นการเช่นนั้นก็ไม่ถือว่ามีภาวะผู้นำได้
 3. ภาวะผู้นำจะถูกอ้างถึงเมื่อจุดมุ่งหมายของกลุ่มหรือองค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้นหากผู้นำไม่สามารถนำกลุ่มไปสู่ความสำเร็จดังกล่าว ก็ย่อมหมายถึงว่าผู้นำไม่ได้แสดงภาวะผู้นำ หรือไม่มีความสามารถในการเป็นผู้นำนั่นเอง

 คุณสมบัติของผู้นำ คุณสมบัติของผู้นำควรประกอบด้วย
ครองตน
 - มีความประพฤติปฏิบัติตนดี
 - มีความรู้ ความสามารถ เข้าใจเหตุการณ์
 - มีความซื่อสัตย์สุจริต
 - มีความอดทนอดกลั้น
 - มีเหตุมีผล
 - มีการควบคุมอารมณ์ที่ดี (EQ=Emotional Qmotient)
ครองคน
 - มีมนุษยสัมพันธ์ดี
 - มีความเสียสละ
 - มีความจริงใจ
 - มีความสามารถในการจูงใจ
 - มีความปรารถนาส่งเสริมให้ลูกน้องก้าวหน้า
ครองงาน
 - มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 - มีความรับผิดชอบ
- มีการตรงต่อเวลา
 - มีความมุ่งมั่นในการสร้างผลงาน
 - มีผลงานเป็นที่ประจักษ์
 - มีความกล้าหาญ

 รูปแบบของผู้นำ การศึกษาเกี่ยวกับผู้นำมีหลายลักษณะ จากการศึกษาของวิลเลี่ยม เจ เรดดิน(William J. Reddin) เรดดินอธิบายถึงความสัมพันธ์กันของพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาและสถานการณ์ โดยแสดงให้เห็นถึงรูปแบบผู้นำที่มีประสิทธิผลมากกว่า และผู้นำที่มีประสิทธิผลน้อยกว่า ดังนี้

 รูปแบบผู้นำที่มีประสิทธิผลสูง
1. นักบริหาร(Execlutiver) ผู้นำแบบนี้จะมีความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องของงานและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีความสามารถในการจูงใจคน กำหนดมาตรฐานในงานสูง เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และการทำงานเป็นทีม
2. นักพัฒนา(Develop) ผู้นำแบบนี้จะให้ความสำคัญกับเรื่องสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมากกว่าให้ความสนใจกับงาน จะให้ความไว้วางใจผู้ร่วมงาน สร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจเพื่อให้ทุกคนพัฒนาตนเอง
3. นักเผด็จการแบบใช้พระคุณ(Benevolent autocrat) ผู้นำแบบนี้จะให้ความสนใจอย่างมากกับงาน และให้ความสนใจเรื่องความสัมพันธภาพระหว่างบุคคลน้อย มุ่งประสิทธิผลของงาน และทำให้บรรลุผลได้อย่างดี โดยไม่ทำให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจ
4. ผู้รักษากฎระเบียบ(Bureaucrat) ผู้นำแบบนี้จะไม่ให้ความสนใจมากนัก


 00098 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-04-02 18:19:23 v : 15150