วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระดับบัณฑิตศึกษา เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (MBE) - คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระดับบัณฑิตศึกษา เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (MBE) - คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเตรียมการเพื่อการนำเสนอและการจัดทำรายงาน ในวันเสาร์ที่ 15 ก.ย. 2554

การเตรียมการเพื่อการนำเสนอและการจัดทำรายงาน ในวันเสาร์ที่ 15 ก.ย. 2554

วิชานี้ คะแนนรวม 100 คะแนน ในส่วนของผม 25 คะแนนประกอบด้วย รายงาน การนำเสนอ และ Quiz = 10 คะแนน และ การสอบ 1 ข้อ = 15 คะแนน
1.การเตรียมตัวการทำ Case ให้นักศึกษา เข้าไป load ข้อมูล ใน http://www.set.or.th/set/commonslookup.do?language=th&country=TH หรือ ใน website โดยให้ Load บริษัท ในส่วนของผู้ลงทุน(Investor Relation) ข้อมูลในส่วน รายงานประจำปีบริษัท 2553 สำหรับ ดังนี้

กลุ่มที่ เลขที่ บริษัท
1 1-10 AMATA
2 11-20 BH
3 21-30 JMART
4 31-40 MAJOR
5 41-50 ERAWAN
6 51-60 ITD
7 61-70 MALEE
8 71-80 MLINK
9 81-90 Bliss
10 91-100 QH
11 101-110 Sabina
12 111-120 OISHI
13 121-130 TRUE


2. วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายขององค์กร (Vision, Mission, Objectives, Strategies, Policies )

*** ให้นักศึกษาเข้าไปหาข้อมูลใน Website ของบริษัทตามที่อาจารย์ได้กำหนดกลุ่ม ==> ในส่วนข้อมูลบริษัท ควรทราบก่อนมาทำ CASE ***

2.1 สภาวะแวดล้อมภายนอก External Environment
2.1.1 สภาวะแวดล้อมทั่วไป Societal environment (Economic, Technological , Political-legal, Sociocultural, international)
2.1.2 สภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน Task environment : Porter’s 5 forces

2.2 สภาวะแวดล้อมภายใน Internal Environment (Value Chain)
• โครงสร้าง Structure
• วัตธนธรรมองค์การ Culture
• การตลาด Marketing
• การเงิน Finance
• การวิจัยและพัฒนา R&D
• การผลิตและการขนส่ง Operation & Logistics
• การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management (HRM)
• ข้อมูลสารสนเทศ Information Systems (IS)
3. การวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ( SWOT, BCG)
4.การนำเสนอกลยุทธ์ในระดับแบบต่างๆ
4.1 กลยุทธ์ระดับองค์การ พร้อม ข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ
4.2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ พร้อม ข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ
4.3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ พร้อม ข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ

5.ให้ นศ ศึกษา "รูปแบบของ BSC" โดยเข้าไปศึกษา http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539103970&Ntype=26
และให้ ศึกษาตาราง BSC & KPI เพื่อออกแบบในการจัดทำตาราง BSC ในการทำกรณีศึกษานี้และส่งเป็นคะแนนเก็บ ในวันที่เรียน ดังนั้น ทุกกลุ่มต้องมี Notebook เพื่อใช้วิเคราะห์และสรุปส่งในวันนั้น

อนึ่งการสมัครสมาชิกของ website drpracha.com ให้ ใช้ email เฉพาะ hotmail หรือ yahoo เท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2011, 03:47:29 AM โดย Dr.Pracha Tansaenee »

Logistics : Strategy & Management

โครงการอบรมหลักสูตร
" Logistics : Strategy & Management "
จัดโดย สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
…………………………………

การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยการพัฒนาทางการค้าและการขนส่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้น กลยุทธ์ การแข่งขันในระดับประเทศและระดับโลก ความได้เปรียบด้านความรวดเร็วทางด้านการจัดส่งและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคเป็นหัวใจสำคัญในยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น สถาบันการขนส่ง จึงได้จัดการอบรมหลักสูตร Logistics : Strategy & Management ขึ้น

หัวข้อการอบรม
1. Introduction to Logistics & Supply Chain Management (SCM)
Definition of Logistics/ Supply Chain Management
Evolution of Logistics / SCM
Integrated Logistics
Global Food Supply Chain Challenges
7R in Logistics Management
Business Logistics Activities
Supply Chain Management-SCM
Supply Chain Functional Activities
2. Inventory Management
กระบวนการโลจิสติกส์พื้นฐาน (Basic Logistics Process)
ความเกี่ยวข้องระหว่างการบริหารสินค้าคงคลังและกระบวนการโลจิสติกส์ (Inventory Management VS. Logistics Process)
Postponement
องค์กรที่ป่วยจากการบริหารสินค้าคงคลังไม่ดี (Symptoms of Poor Inventory)
สินค้าคงคลัง (Inventory) คืออะไร?
ความสำคัญของการจัดการสินค้าคงคลัง (Importance of Inventory Management)
เหตุผลของการมีสินค้าคงคลัง (Reason of having Inventory)
วัตถุประสงค์ในการบริหารสินค้าคงคลัง (Objectives of Inventory Management)
คำถามพื้นฐานในการตัดสินใจเรื่องสินค้าคงคลัง (Basic Questions for Inventory Management)
SKUs (Stock Keeping Units)
ประเภทของสินค้าคงคลัง (Inventory Classification)
การบริหารสินค้าคงคลังแบบภาพรวม และรายสินค้า (Aggregated & Item Inventory Management)
การวิเคราะห์และการบริหารสินค้าคงคลัง แบบABC
มูลค่าสินค้าคงคลัง (Inventory Value)
การปรับปรุงระบบการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Improvement)
3. Warehouse Management
คลังสินค้าในระบบโลจิสติกส์ (Warehouse in Logistics System)
พันธะกิจของการจัดการคลังสินค้า (Mission of Warehouse Management)
เหตุผลที่ต้องมีการเก็บสินค้า (Why do we need the inventory?)
ประเภทของคลังสินค้า (Types of Warehouse)
คลังสินค้าถูกใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง (Benefits of Warehouse)
ฟังก์ชั่นงานและการไหลในคลังสินค้า (Warehouse functions and Flows)
การวัดผลการปฏิบัติงานของคลังสินค้า (Performance measurement)
การปรับพื้นที่ในคลังสินค้า (Storage space to be changed)
4. Information Technology for Logistics Management
ความหมายของ Logistics และ Information Technology (IT)
กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนของ Logistics
IT for Internally Integrated Logistics - ERP Systems
IT for Externally Integrated Logistics - e-Business
IT สำหรับ Logistics ระดับประเทศ
RFID (Radio Frequency Identification)
5. Order Management
Introduction
Customer Order Cycle
- Total Order Cycle : A Customer's Perspective
- Total Order Cycle with Variability
- Inventory Stock Value
- Management Information Provided by an Advanced Order Processing System
- The Path of a Customer's Order
The Communications Function
- Benefit from Advanced Order Processing System
- Electronic Data Interchange
- EDI versus Traditional Methods
- Typical EDI Configurations
- Basic Need for Information
- Logistics Information System
A Database for Decision Making
- A Modular Data Base System for Reporting Cost and Revenue Flows
- Report Generating Capabilities of the Modular Database
Financial Considerations
- Cost Trade-Offs Required in a Logistics System
6. Modern Purchasing Management
Competitive Advantage
- Cost Advantage
- Differentiation Advantage
A Model of Competitive Advantage
- Resources
- Distinctive Competencies
- Cost Advantage or Differentiation Advantage
- Value Creation
- Capabilities
Competitive advantage and the three C's
Importance of material costs
องค์กรจัดซื้อ 3 รูป แบบ
- Centralization (ศูนย์รวมอำนาจ)
- Decentralization (กระจายอำนาจ)
- Mix / Combination (ผสมผสาน)
The Use of Time: Profit Erosion
The Use of Time: Profit Improvement
Purchasing Mix-6R
7. Water Transport Management
Shipping Business
Maritime Business
Parties Involved in shipping Business
Container
Bill of Landing & Waybill
หลักการเช่าเรือ
ปัจจัยองค์ประกอบที่สำคัญในธุรกิจการขนส่ง
การขนส่งทางเรือ
INCOTERMS
Logistics Platform
8. Air & Land Transport Management
Overview of Transport Theory
Land Transport Management
- Domestic Freight Transport Volume
- Demand for Transportation
- 3rd Party Logistics (3PL)
- โครงการด้านการขนส่งทางบกที่มีผลต่อการพัฒนาและการเปิดตลาด Logistics
Air Transport Management
- Importance of Air Transport
- Global Aviation Industry Trends
- Force Affecting Aviation Industry
- Regional Roundups
- Type of Air Cargo
- Air Freight
- Types of Carriers
- Markets for Air Freight
- โครงการด้านการขนส่งทางอากาศที่มีผลต่อการพัฒนาและการเปิดตลาด Logistics
การแบ่งประเภทพัสดุเพื่อการควบคุม
Discussion
9. Logistics & Supply Chain Strategies
Introduction
- Supply Chain Management
- Supply Chain Continuum
- Supply Chain Impact
Strategy Development
- The Value Chain
- Logistics and Supply Chain Strategy
- Generic Supply Chain Types
Selected Strategy
- Supply Chain Network
- Transportation Management Strategy
- Demand Management Strategy
- CPFR Strategy
- Vendor Managed Inventory Strategy
- Postponement Strategy
- Manufacturing Strategy
- Sourcing Strategy
- Performance Management Strategy
- Outsource/In source Strategy
Information Technology
- Supply Chain Planning
- Warehouse Management
- Transportation Management
- RFID(Radio Frequency Identification)
Case Study
10. Implementation of Logistics & Supply Chain Management
Objective of Supply Chain Management Implementation
Causes of Misalignment
Organizational Changes
Traditional Structure
Activity-Based Costing
Business Process
Basic Core Business Processes
Supply Chain Management on e-Business Practices
Forecast Management Concept
หลักการ ของ CRP และ VMI (Vender Manage Inventory)
Model CPFR (Collaborative Planning Forecasting & Replenishment)
CPFR Objective and Goal
Supply Chain Implementation Technique
Supply Chain Management Implementation
Discussion

ขั้นตอนการนำระบบ BALANCED SCORECARD และ KPI ไปใช้ในองค์กร

ขั้นตอนการนำระบบ BALANCED SCORECARD และ KPI ไปใช้ในองค์กร
ในปัจจุบันนี้ผมเชื่อว่าทุกองค์กรคงจะรู้จักเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่เราเรียกว่า Balanced Scorecard และ KPI (Key Performance Indicator) แล้ว เพราะบางองค์กรได้นำเอาไปใช้แล้ว แต่บางองค์กรกำลังจะนำไปใช้ ไม่ว่าองค์กรที่ใช้แล้วหรือองค์กรที่กำลังจะนำไปใช้มักจะประสบปัญหาเหมือนๆกันคือไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นจากจุดไหน อะไรควรเริ่มต้นก่อน-หลัง แต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการนำเอา Balanced Scorecard และ KPI ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผมจึงขอแนะนำขั้นตอนการนำไปใช้ในองค์กรดังนี้
1. การปรับระดับความรู้ของคนในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ก่อนอื่นจะต้องมีการปรับระดับความรู้ของคนในองค์กรให้อยู่บนมาตรฐานหรือแนวเดียวกันก่อน เพราะในแต่ละองค์กร บุคลากรมักจะมีความรู้ในเรื่องนี้แตกต่างกัน อาจจะเป็นเพราะต่างคนต่างไปสัมมนาจากหลากหลายวิทยากร อ่านหนังสือคนละเล่ม บางคนสนใจมากก็รู้มาก บางคนสนใจน้อยก็รู้น้อย แต่ทำเป็นรู้มากก็มี ดังนั้น จึงควรมีการฝึกอบรมหรือชี้แจงให้แต่ละคนมีระดับความรู้ความเข้าใจที่ใกล้เคียงกัน อาจจะใช้วิธีการเชิญวิทยากรภายนอกเข้ามาจัดฝึกอบรมภายในหรือถ้าในองค์กรมีใครที่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเชิญคนนอกมา และควรจะให้ความรู้แก่พนักงานทุกระดับ แต่ละระดับอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป
2. การจัดตั้งคณะทำงาน
คณะทำงานจะจัดตั้งก่อนหรือหลังการฝึกอบรมก็ได้ ถ้าตั้งแต่ก่อนก็จะดีตรงที่ว่าคณะทำงานจะได้ศึกษาเรื่องนี้กันก่อนก่อนที่จะเชิญวิทยากรภายนอกเข้ามาบรรยายให้ความรู้ เพราะบางครั้งเนื้อหาหลักสูตรทั้งหมดคณะทำงานเป็นผู้ออกแบบ แต่อาศัยวิทยากรมาเป็นโฆษกรัฐบาลเท่านั้น (โดยทั่วไปคนในพูดไม่ค่อยเชื่อ แต่ถ้าเชิญคนนอกที่หน้าไม่ค่อยคุ้นเคยมาพูดมักจะเชื่อกันมาก)
3. การแปลงวิสัยทัศน์สู่ตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร
องค์กรควรจะมีการกำหนดกลยุทธ์บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์องค์กร แล้วนำมาจัดทำแผนที่เชิงกลยุทธ์ (Strategy Map) หลังจากนั้นให้นำเอากลยุทธ์แต่ละตัวมาวิเคราะห์หาตัวชี้วัดผลงานเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะเรียกว่า Strategic KPI ก็ได้ หรือบางที่อาจจะเรียกว่า Strategic Measure ก็ตามความเหมาะสมก็แล้วกัน แต่ที่แน่ๆคือเป็นตัวชี้วัดผลงานหลักขององค์กรว่ากลยุทธ์ในเรื่องนั้นๆประสบความสำเร็จหรือไม่ สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำเพิ่มเติมคือเมื่อได้ Strategic KPI ออกมาแล้ว น่าจะนำเอา KPIs เหล่านั้นมาเชื่อมโยงกันอีกครั้งหนึ่งในลักษณะของแผนที่กลยุทธ์ แต่ผมจะเรียกมันว่าเป็นแผนที่ตัวชี้วัดผลงานหลักเชิงกลยุทธ์ (Strategic KPIs Map) หมายถึงการนำเอา Strategic KPIs ที่วิเคราะห์ได้มาเชื่อมโยงดูความสัมพันธ์กันอีกครั้งหนึ่งว่าที่เราวิเคราะห์มานั้นถูกต้องจริงหรือไม่ เพราะเราอาจจะเจอว่าตัวชี้วัดบางตัวไม่สัมพันธ์กับตัวชี้วัดผลงานอื่นๆเลยก็เป็นไปได้
4. การจัดทำ Balanced Scorecard ระดับองค์กร
เมื่อมั่นใจแล้วว่า KPIs ระดับองค์กรถูกต้องแล้ว ให้จัดทำตารางตัวชี้วัดผลงาน (Balanced Scorecard /Balanced Sheet) เพื่อกำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดผลงานแต่ละตัว เช่น คำจำกัดความของตัวชี้วัด สูตรการคำนวณ แหล่งที่จะเก็บข้อมูล ความถี่ในการเก็บข้อมูล ฯลฯ
5. การวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงานระดับหน่วยงาน
การวิเคราะห์หาตัวชี้วัดผลงานของหน่วยงาน ในความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นต้องรอให้ KPI ระดับองค์กรเสร็จก่อนก็ได้ เราสามารถทำควบคู่กันไปได้เลย เพราะการวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงานของหน่วยงาน จริงๆแล้วคือการนำเอาหน้าที่งานหลักของหน่วยงานมาวิเคราะห์หาตัวชี้วัดผลงานนั่นเอง การวิเคราะห์ช่วงนี้ยังไม่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ขององค์กร แต่เป็นการวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงานตามลักษณะงาน ตัวชี้วัดผลงานของหน่วยงานนี้จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง(ถ้าเราวิเคราะห์ได้ครบถ้วน) ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆใหม่
6. การจัดทำ Balanced Scorecard ระดับหน่วยงาน
เมื่อเราได้ตัวชี้วัดผลงานของหน่วยงานแล้ว ก็ให้จัดทำตารางตัวชี้วัดผลงาน (Balanced Scorecard / Balanced Sheet) ของหน่วยงาน โดยให้พิจารณาจากการ Balanced Scorecard ของระดับองค์กรว่ามีตัวชี้วัดผลงานตัวไหนบ้างที่หน่วยงานนั้นๆรับผิดชอบ และให้คัดเลือกตัวชี้วัดผลงานที่วิเคราะห์ได้ในข้อ 5 ที่มีผลกระทบต่อตัวชี้วัดผลงานระดับองค์กรเข้ามาใส่เพิ่มเติม ดังนั้น Balanced Scorecard ในระดับหน่วยงานนี้จะมีตัวชี้วัดผลงานอยู่ 2 กลุ่มหลักๆคือ ตัวชี้วัดผลงานที่รับมาโดยตรงจากองค์กร และตัวชี้วัดผลงานตามลักษณะหน้าที่งานของหน่วยงานนั้นๆที่มีผลกระทบต่อตัวชี้วัดผลงานระดับองค์กร
7. การปรับตัวชี้วัดผลงานและเป้าหมายระหว่างหน่วยงาน
ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานได้นำเสนอ Balanced Scorecard ของตัวเองต่อที่ประชุม ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจได้ว่าตัวชี้วัดผลงานและเป้าหมายขององค์กรได้ถูกกระจายไปสู่หน่วยงานต่างๆได้อย่างครบถ้วน ในขณะเดียวกันก็เป็นการปรับตัวชี้วัดผลงานและเป้าหมายระหว่างหน่วยงาน เพราะในระหว่างที่นำเสนออยู่นั้นมักจะมีหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากตัวชี้วัดผลงานหรือเป้าหมายของหน่วยงานอื่นๆอยู่เสมอ ในขั้นตอนนี้ควรมีเปิดให้มีการอภิปรายกันอย่างเต็มที่แม้ว่าจะต้องเสียเวลาเป็นวันก็ตาม เพราะให้ทุกหน่วยงานเกิดการยอมรับในตัวชี้วัดและเป้าหมายของหน่วยงานอื่น และเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานได้ชี้แจงการวัดผลงานของหน่วยงานตัวเองต่อที่ประชุม
8. การวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงานและ Competency ของตำแหน่งงาน
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงานและ Competency ของตำแหน่งงาน สามารถทำไปพร้อมๆกับการวิเคราะห์ KPI ระดับองค์กรหรือหน่วยงานได้เลยเช่นกัน เพราะเป็นการวิเคราะห์จากใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) ขั้นตอนนี้วิเคราะห์เพียงปีแรกปีเดียว ปีต่อไปไม่ต้องวิเคราะห์อีกถ้างานไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงานระดับหน่วยงาน
9. การกระจายเป้าหมายจากระดับหน่วยงานสู่ระดับตำแหน่งงาน
การกระจายเป้าหมายจากหน่วยงานสู่ระดับตำแหน่งงาน ผมแนะนำให้ใช้วิธีการเดียวกันกับข้อ 7 คือให้ทุกคนกำหนด Balanced Sheet (ที่ไม่เรียก Balanced Scorecard เพราะไม่จำเป็นต้องมีตัวชี้วัดครอบทุกด้านตามแนวคิดของ Balanced Scorecard) ของตัวเองมาแล้วนำมาเสนอต่อที่ประชุมของหน่วยงาน
10. การจัดทำใบประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล
ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะนำเอา Balanced Scorecard และ KPI ไปใช้ เป็นการนำเอาตัวชี้วัดผลงานที่ได้จากข้อ 9 มากรอกลงในแบบฟอร์มประเมินผลงานของพนักงานแต่ละคน ซึ่งนอกจากตัวชี้วัดผลงานแล้วก็จะต้องมีการกำหนด Competency ที่เกี่ยวข้องกับ (สนับสนุน)ตัวชี้วัดผลงานในปีนั้นๆด้วย


หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านคงจะพอเป็นแนวทางในการนำเอาเครื่องมือเรื่อง Balanced Scorecard และ KPI ไปใช้ในองค์กรได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นนะครับ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดสงสัยหรือต้องการคำอธิบายในแต่ละขั้นตอนเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ บางทีผมอาจจะนำเอาคำถามของท่านมาเขียนเป็นบทความในตอนต่อๆไปก็ได้นะครับ เผื่อว่าตอบแล้วผู้อ่านท่านอื่นจะได้ประโยชน์ด้วย

McKinsey 7 s Framework

กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์ (McKinsey 7 s Framework)


แนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 โดย Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips แนวคิดนี้ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 7 ประการ ของธุกิจว่ามีลักษณะและมีสภาพอย่างไร

1. กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน ของกิจการ
2. โครงสร้าง (Structure) เป็นโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจ ของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาค ได้อย่างเหมาะสม
3. ระบบ (System) หมายถึงกระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ
4. รูปแบบ (Style) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ เช่น การสั่งการ การควบคุม การูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์การ
5. การจัดการบุคคลเข้าทำงาน (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลกรอย่างต่อเนื่อง
6. ทักษะ (Skill) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย การให้บริการ
7. ค่านิยมร่วม ( Shared value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


แบบจำลอง 7-s นี้เป็นกรอบการพิจารณาและการวางแผนเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ในองค์การโดยการประสานองค์ประกอบทั้ง 7 ตัวให้สอดคล้องประสานกัน ตัวแปรแต่ละตัวมีความสำคัญต่อการบริหารองค์การ เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์องค์การเกี่ยวข้องกับการพิจารณาโครงสร้างองค์การ เป้าหมายขององค์การ ระบบการดำเนินงาน ทักษะที่ใช้ในการทำงาน บุคลากร รูปแบบพฤติกรรมของพนักงานและเป้าหมายที่ต้องการ

ที่มา : http://www.geocities.com/cyberdol007/McKinsey.htm

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สุดยอด 99 ทำเลค้าขาย(ตลาดนัด-ตลาดเปิดท้าย)

สุดยอด 99 ทำเลค้าขาย(ตลาดนัด-ตลาดเปิดท้าย) ในกทม.เท่านั้นนะคะ

เอามาฝากสำหรับผู้ที่ต้องการเช่าพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดท้ายขายของ, ตลาดนัด, ตลาดเปิดท้าย, แบกะดิน, เช่าบูธ, ออกร้าน และอื่นๆ




พร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม เช่าพื้นที่กันได้เลยจ้า…บางคนบอกว่า “อยากหาที่ขายของค่ะ ไปติดต่อที่ไหน คนจัดก็บอกว่าล็อคเต็ม จนท้อแล้วค่ะ” อย่าเพิ่งท้อนะคะ เอาใจช่วยทุกๆคนค่ะ พยายามเลือกพื้นที่ หรือ ทำเลที่เราสามารถไปได้ แล้วโทรติดต่อเลยค่ะ อย่ารอช้า บางคนคิดอยู่นาน ไม่ลงมือทำสักที แล้วหนูจะช่วยพี่ๆได้อย่างไร จริงมั้ยค่ะ อิ อิ



หลังสวน ซ.1 คุณพิสิทธิ์ โทร 0899960320, 0816434969
หลังสวน ซ.5 คุณเปิ้ล โทร 0819341288
สาทร (ข้างอาคารไอทย ซี ซี) คุณส้ม โทร 0814272927
สาทร (ตึก วาย เอ็ม ซี เอ) คุณจิ๋ม โทร 0816276497
อาหารสินสาทร (ฝั่งธนฯ) คุณฝน โทร 0818201970
สาทร ซ.3 สวนพลู ติดต่อที่ร้านได้ทุกวัน ณ สถานที่
สีลม ซอย 10 ITF คุณประเทือง โทร 0816941536
สีลม ซอย 108 พันเก้า คุณจุ้ย โทร 0818998016
สีลม ซอยพิพัฒน์ คุณสิทธานต์ โทร 0818055688, 022331861
อาคารวรวัฒน์ คุณป้อ โทร 0816542718
United Center สีลม ฝ่ายอาคาร โทร 022311100 ต่อ 405
อาคารไทยศรีซุริค คุณป้อ โทร 0816542720
ซอยศาลาแดง คุณเอียด โทร 0894144735 , 0866160197
ซอยศาลาแดง เยื้องแอนคาเฟ่ คุณหญิง โทร 0813250073 , 0891050773
สีลม หน้าอาคารศรีวรวัฒน์ คุณอวยพร โทร 026352195-8
สีลมคอมเพล็กซ์ คุณเพ็ญ โทร 026321199 ต่อ 136
ตึก ซ๊ พี (C.P.) สีลม ฝ่ายอาคาร โทร 026382181
สุรวงศ์ (อาคารไทยสงวน) คุณป้อ โทร 0816542719
เพลินจิตร (ตรงข้ามเซ็นทรัล) คุณณี ติดต่อ 10.00 น. วันจันทร์ 9.30 น.
เพลินจิตร (ข้าง ธ.กรุงศรีอยุธยา) เจ๊วารี ติดต่อ ณ สถานที่
เพชรบุรี (ข้างตึกแกรนด์) คุณลพ โทร 0816828075
เพชรบุรี (ตรงข้ามโมนาลิซ่า) คุณสุชาติ โทร 0816972725
เพชรบุรี (ตึกอิตาเลี่ยนไทย) คุณเปิ้ล คุณภาสพงษ์ โทร 0819347701 0813150450 ขายวันที่ 31 1 2
อาคารชาญอิสระ ถ.เพชรบุรี คุณสุชาดา โทร 023082020
อาคารวานิช ถ.เพชรบุรี ต่อต่อก่อน 10.00 น. ได้ทุกวัน ติดต่อ ณ สถานที่
เพชรอโศก ข้าง (GMM) คุณมล โทร 0816903619
อาคารเสริมมิตร ถ.อโศก ติดต่อ ณ สถานที่ โทร 02xxxxxxx ต่อ 1000
ตึก Q House (ถ.อโศก) ติดต่อ ณ สถานที่ โทร 022642247, 022642245
ซ.ครูฉวี ติดต่อ ณ สถานที่ โทร 022944970
คลองตัน (UM Tower) คุณอ้อย โทร 027198251
-
ซ.สุขุมวิท 16 (ปลาวาฬ) คุณสมาน โทร 022588968
ซ.สุขุมวิท 1 (นานา) คุณประกิต โทร 022542163
ตึกมิชลิน คุณพัชร โทร 026150202 ต่อ 52
เบอร์รี่ยุกเกอร์ คุณแซค โทร 0898880022
ซ.อารีย์ คุณหนิง โทร 0814988610
อาคาร SSP (เอกมัย) ติดต่อ ณ สถานที่
ซ.รามคำแหง 26/1 คุณโสภา โทร 023741200
อาคาร U COM (ถ.วิภาวดีรังสิต) ติดต่อ ณ สถานที่
บางนาทาวเวอร์ (ก.ม.7) ถ.บางนา คุณสมชาติ โทร 0812117978
บางนา (นสพ.เนชั่น) ถ.บางนา คุณณัฐ โทร 0816251818
กองสลากเอกมัย ติดต่อ ณ สถานที่ ขายฟรี จันทร์-ศุกร์
แจ้งวัฒนะ ช.5 ติดต่อ ณ สถานที่
นสพ.ไทยรัฐ คุณสุวรรณี โทร 022751630 ต่อ 1171
อาคารทิปโก้ (สี่แยกประดิพัทธ์) ติดต่อ ณ สถานที่
รัชดา (เมืองไทยคอมเพล็กซ์) คุณแพรว โทร 0816236820
รัชดา (เมืองไทยคอมเพล็กซ์) คุณจอย โทร 0819046553, 0816386589
รัชดา (เมืองไทยคอมเพล็กซ์) คุณหน่อย โทร 022779826
อสมท. คุณพร โทร 0895357945
ตึก อาร์ เอส รัชดา คุณหญิง โทร 0813250773
อาคารชำนาญเพ็ญชาติ คุณนุ โทร 0895140556 , 0814205806
อาคารชำนาญเพ็ญชาติ คุณส้ม โทร 0814205806
อาคารชินวัตร 3 (ถ.วิภาวดีรังสิต) ติดต่อ ณ สถานที่
อาคาร ซัน ทาวเวอร์ (ถ.วิภาวดีรังสิต) คุณปุ๋ย ติดต่อ ณ สถานที่
แจ้งวัฒนะ (ข้างกระทรวงยุติธรรม) คุณอ้อย โทร 0818896921
อาคารจัสมิน คุณเจี๊ยบ คุณเปิ้ล โทร 0818228446 , 0818150450
กสท. (ถ.แจ้งวัฒนะ) คุณวนิดา โทร 0818550226, 025063612
ตึกว่องวานิช (ถ.พระราม9) คุณน้อง โทร 0818299161
ตึก KPN (ถ.พระราม 9) คุณฝน โทร 0818201970
ทสท. (ถ.แจ้งวัฒนะ) คุณวันทนา โทร 025051056, 025053306-7
ธนาคาร ธกส. นางเลิ้ง ติดต่อ ณ สถานที่ ทุกวันพุธ
เมืองทองธานี (ต้นประดู่) ติดต่อ ณ สถานที่ 025035033 ต่อ 0017, 6021
ธ.ออมสิน คุณเฉลียง โทร 0892325017 วันพฤหัส 80 บาท
อาคารล๊อคซ์เลย์ (คลองเตย) คุณอ๊อด โทร 081987 0797
สโมสรการบินไทย คุณจันทร์เพ็ญ โทร 025452536 เดือนละ 4วัน
ตี4-6โมงเช้า
การบินไทย คุณไพบูลย์ โทร 025452535
สโมสรการท่า (ดอนเมือง) ติดต่อ ณ สถานที่ โทร 025353998 025351205 จันทร์ พุธ ศุกร์
กรมชล ไฟฟ้า ติดต่อ ณ สถานที่ 0869792380
กรมศุลกากร คุณวันชัย โทร 026677131
การประปานครหลวง (ถ.ประชาชื่น) คุณมนตรี โทร 025040123 ต่อ 870 0816109313 วันที่ 16,28 ของเดือน
สหภาพ ติดต่อ ณ สถานที่ โทร 025039935
การไฟฟ้า (สนง.ใหญ่เพลินจิตร) คุณกรรณิกา โทร 022205816-7 เวลา 11.00-13.00น. 500บาท/วัน
การไฟฟ้า (สนง.ใหญ่เพลินจิตร) คุณณรงค์ โทร 024360000 024363646 เวลา 8.00-16.00น. 500บาท/วัน
กรมที่ดิน (หนองจอก) คุณจุรี โทร 025432274
กรมศุลกากร (คลองเตย) คุณนิตยา คุณราตรี โทร 0813854774(ห้องอาหาร) 0896771357(ห้องสโมสร)
ปตท. วิภาวดีรังสิต คุณธร คุณเป้า คุณยาย คุณตุ่ม โทร 0873056258 0865704350 0817560485 0894439775
หลังกทม. (เสาชิงช้า) คุณชลอ โทร 0816178609 028680071
การไฟฟ้า (ถ.งามวงศ์วาน) คุณอนุวัฒน์ คุณสุชิน โทร 025890100-2 ต่อ 5369 5325
โรงงายาสูบ (พระราม4) คุณตุ่ม โทร 0818062998
บ.คอสโม กรุ๊ป คุณรัชนี โทร 023112131 023310073 (ทำหนังสือขออนุญาติก่อน)
ธ.ไทยพาณิชย์ สนง.ใหญ่ คุณภาสพงษ์ โทร 0819347701
อาคารพญาไท พลาซ่า คุณอรุณี คุณป้อ โทร 0815642718
Bank of China ติดต่อ ณ สถานที่ โทร 0898856071
อาคารศรีภิญโญ (ข้าง รพ.เดชา) ติดต่อ ณ สถานที่ โทร 0815642718
ตลาดนัดสัญจร (ตึก BB) ม.ประสานมิตร โทร 0816347645
อาคารพหลโยธินเพลส คุณบุญเสริม โทร 0813505180
อาคารศุลกากร (คลองเตย) คุณนิตยา โทร 0816493872
อาคาร sv (ถ.พระราม3) คุณนิตยา โทร 0816493873
อาคารศรีจุลทรัพย์ คุณนิตยา โทร 0816493874
อาคารมโนรม (ถ.พระราม4) คุณตุ่ม โทร 0818062998
ฮ่องกงพลาซ่า (ถ.นราธิวาส) คุณนิตยา คุณประเสริฐ โทร 0816493975 0898856071
อาคาร CDG (ถ.นางเลิ้ง) คุณเล็ก โทร 026780020 ต่อ 2973
สมาคมผู้สื่อข่าว (ถ.สามเสน) คุณเปิ้ล โทร 0813150450
โรงพยาบาลพระมงกุฏ เจ๊เล็ก โทร 0813272840 0896651606
รพ.จุฬา (อาคารสภากาชาดไทย) คุณต๋อย คุณเจริญรัตน์ โทร 022564290 022564427-9
อาคารฐานเศรษฐกิจ ฝ่ายอาคาร 025139898-9
บิ๊กซี (ลาดพร้าว) ติดต่อ ณ สถานที่ จับสลากวันอาทิตย์บ่าย
ยูเนี่ยนมอลล์ (ลาดพร้าว) ติดต่อ ณ สถานที่ จับสลากวันอาทิตย์บ่าย
ตลาดปัฐวิกรณ์ (นวมินทร์) ติดต่อ ณ สถานที่ เข้าแถวซื้อล๊อกทุกวันช่วงบ่าย
ผู้ประกอบการ SMEs และแฟรนไชส์ หลายท่านมีสินค้ามากมาย ต้องการลงตลาดนัด หรือ กระจายสินค้าออกไปในวงกว้าง แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มติดต่ออย่างไร? มีตลาดนัดที่ไหนทำเลดีๆบ้าง? ข้อมูลในหน้านี้ ก็ถือว่าเป็นฐานข้อมูล ทำเลค้าขายให้ท่านบางส่วนนะคะ ช่วยๆกันจ้า



สินค้าของท่านยังมีโอกาสขายได้อีกเยอะ หากเรามีข้อมูล และรู้ช่องทางในการทำการตลาด ทาง ThaiSMEfranchise ขอเป็นกำลังใจ และเอาใจช่วยพ่อค้าแม่ขายทุกท่านนะคะ ทุกอย่างถ้าเราทำอย่างตั้งใจ รับรองขายดีเป็นเทน้ำเทท่าแน่ๆค่ะ

หากเน้นเป็นพื้นที่ให้เช่า หรือ ต้องการเปิดร้าน เช่าสถานที่ แนะนำเว็บนี้ค่ะ http://www.thaifranchisecenter.com/forumboard/index.php?board=10.0 รวมพื้นที่ให้เช่าเต็มๆเลยจ้า แบ่งตามเขต ตามโซน ค้นหาง่ายดีค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อ่านงบการเงินให้เป็น ▨▨ (1-14) โดย : ดร.ภาพร เอกอรรถพร

อ่านงบการเงินให้เป็น ▨▨ (1-14) โดย : ดร.ภาพร เอกอรรถพร
อ่านงบการเงินให้เป็น (1)
เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบหมายถึงอะไร?
“เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ Substance than Form” มีความหมายว่า รูปแบบตามกฎหมายไม่สำคัญกับการบันทึกบัญชีเท่ากับเนื้อหาทางเศรษฐกิจ นักบัญชีพร้อมจะมองข้ามรูปแบบตามกฎหมายไปหาข้อเท็จจริงทางธุรกิจทุกเมื่อ

ตัวอย่างเช่น ในการออกงบการเงิน “หน่วยงานที่เสนอรายงาน” อาจประกอบด้วยบริษัทมากกว่าหนึ่งแห่ง หากโดยเนื้อหาแล้ว บริษัทเหล่านั้นคือบริษัทเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นคนละนิติบุคคลกัน (ตามรูปแบบของกฎหมาย) ทั้งนี้ เนื่องจากกฎบัญชีกำหนดว่า “บริษัทใหญ่” ต้องนำงบการเงินของ “บริษัทย่อย” มารวมเพื่อจัดทำ “งบการเงินรวม” เมื่อบริษัทใหญ่สามารถ “ควบคุม” นโยบายการเงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อยได้
***
อ่านงบการเงินให้เป็น (2)

●โดย : ดร.ภาพร เอกอรรถพร

ทำไมนักบัญชีจึงต้องจู้จี้กับ “งวดบัญชี” หรือ “งวดการรายงานทางการเงิน” หรือ “ความถี่ของการรายงาน”?

เพราะงวดบัญชีคือเส้นแบ่งเวลาที่จะทำให้นักบัญชีสามารถสรุปผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อออกงบการเงิน ลองมโนภาพถึงเส้นเวลาที่ไม่มีวันสิ้นสุด เรารู้ว่าบริษัทเริ่มต้นเมื่อไร แต่ไม่รู้ว่าบริษัทจะจบลงเมื่อไร ถ้านักบัญชีไม่กำหนด “งวดบัญชี” ไว้ นักบัญชีก็จะต้องรอให้บริษัทหมดอายุขัยก่อนที่จะสามารถรายงานผลให้นักลงทุนทราบ บริษัทบางบริษัทมีอายุเป็นร้อยปี (แล้วนักลงทุนอายุไม่ถึงร้อยอย่างเราจะรอไหวหรือ?) นักบัญชีจึงจำเป็นต้องสร้างกลไกให้สามารถสรุปผลทางบัญชีเพื่อรายงานให้เจ้าของบริษัททราบเป็นระยะๆ โดยนำเวลามาแบ่งออกเป็นช่วงๆ ช่วงละเท่าๆ กัน

***
อ่านงบการเงินให้เป็น (3)

“กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม” ประกอบด้วยรายการอะไร?

“กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ” หมายถึง กำไรขาดทุนทุกประเภทที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด ดังนั้น “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม” จึงแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม นั่นคือ


กลุ่มที่หนึ่ง กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เกิดจากการดำเนินงานในระหว่างงวดของบริษัท กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จประเภทนี้คำนวณได้จากการนำรายได้ (จากการดำเนินงานในระหว่างงวด) มาหักค่าใช้จ่าย (ในการดำเนินงานระหว่างงวด) เพื่อหา “กำไรขาดทุนสุทธิ” ซึ่งถือเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ “หลัก”


กลุ่มที่สอง กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เกิดจากการปรับมูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สินตามวิธีการบัญชี ณ วันสิ้นงวด แต่กฎบัญชีไม่อนุญาตให้บริษัทนำกำไรขาดทุนเหล่านี้ไปแสดงรวมกับรายการในกลุ่มที่หนึ่ง เช่น กำไรที่เกิดจากการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ หรือกำไรจากการแปลงค่างบการเงิน กำไรขาดทุนเหล่านี้รวมเรียกว่า “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น”

***
อ่านงบการเงินให้เป็น (4)

โดย : ดร.ภาพร เอกอรรถพร



“งบการเงินสำหรับบุคคลภายนอก” แตกต่างจาก “งบการเงินเพื่อผู้บริหาร” อย่างไร?
งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอก (Financial Statements) เน้นการให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เพื่อให้นักลงทุนสามารถนำงบการเงินนั้นไปใช้ในการตัดสินใจซื้อหุ้นหรือให้บริษัทกู้ยืมเงิน ดังนั้น งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกจึงต้องอยู่ภายใต้ “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” (ซึ่งรวมถึง “แม่บทการบัญชี” และ “มาตรฐานการบัญชี”) ที่ออกโดยผู้เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี นอกจากนั้น งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกยังต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่มีหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของนักลงทุน เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์ และหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เช่น กระทรวงพาณิชย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย


ผลที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทต้องออกงบการเงินให้แก่บุคคลภายนอกตามรูปแบบที่กำหนดโดยกฎบัญชีหรือข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้การรวมรายการ (การนำบัญชีย่อยๆ หลายบัญชีมารวมกัน) และชื่อบัญชีที่ปรากฏในงบแตกต่างไปจากรายการที่แสดงในงบการเงินเพื่อผู้บริหาร นอกจากนั้น ข้อมูลที่ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น รายละเอียดปลีกย่อยและจำนวนเศษสตางค์ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงให้บุคคลภายนอกทราบ


ส่วนงบการเงินเพื่อผู้บริหาร (Management Accounts) เป็นงบการเงินที่ใช้เป็นการภายในเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารและควบคุม ดังนั้น รายการที่แสดงในงบการเงินเพื่อผู้บริหารจึงอาจมีรายละเอียดหรือมีการจำแนกหมวดหมู่ที่แตกต่างไปจากงบการเงินที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป นอกจากนั้น งบการเงินเพื่อผู้บริหารไม่จำเป็นต้องแสดงหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะผู้บริหารทราบความเป็นไปภายในบริษัทอยู่แล้ว


เนื่องจากบริษัทใช้งบการเงินเพื่อผู้บริหารเป็นฐานในการออกงบการเงินให้กับบุคคลภายนอก ดังนั้น งบการเงินเพื่อผู้บริหารกับงบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกจึงเป็นสิ่งเดียวกัน จะแตกต่างกันก็แต่รูปแบบที่นำเสนอ

****
▼อ่านงบการเงินให้เป็น (5)

ทำอย่างไรจึงจะมั่นใจว่างบการเงินที่บริษัทนำเสนอแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่เชื่อถือได้?

งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกต้องตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (คือผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่วิชาชีพกำหนด) ความเห็นของผู้สอบบัญชีจะแสดงอยู่หน้างบการเงิน (เป็นแผ่นแรกก่อนที่จะถึงงบการเงิน) เรียกว่า “รายงานของผู้สอบบัญชี”


“การตรวจสอบ” งบการเงินจะเป็นไปตาม “มาตรฐานการสอบบัญชี” ซึ่งการตรวจสอบนั้นก็เพื่อให้แน่ใจว่างบการเงินที่บริษัทออก แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานอย่าง “ถูกต้องตามควร” และเป็นไปตาม “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” (ซึ่งแต่เดิมรู้จักกันในชื่อ “มาตรฐานการบัญชี” แต่ในปัจจุบันมาตรฐานการรายงานทางการเงินมีความหมายที่กว้างกว่า และครอบคลุมกฎบัญชีหลายชนิด เป็นต้นว่า แม่บทการบัญชี “มาตรฐานการบัญชี” “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” การตีความมาตรฐานการบัญชี และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน)


ตามปกติ รายงานของผู้สอบบัญชีจะมีสามวรรค ถ้ารายงานผู้สอบบัญชีมีมากกว่าหรือน้อยกว่าสามวรรค ผู้ใช้งบการเงินต้องพิจารณางบการเงินนั้นเป็นพิเศษ เพราะแสดงว่าผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบงบการเงินนั้น ได้พบอะไรบางอย่างที่ทำให้ต้องออกรายงานต่างไปจากปกติ

******
▼ อ่านงบการเงินให้เป็น (6)

โดย : ดร.ภาพร เอกอรรถพร

จริงหรือไม่ที่ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบการฉ้อฉลในบริษัท?

ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบว่างบการเงินที่บริษัทออกเป็นไปตามข้อกำหนดใน “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” หรือไม่ ผู้สอบบัญชีไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบการฉ้อฉลในบริษัท แต่ระหว่างการตรวจสอบ หากผู้สอบบัญชีตรวจพบข้อสงสัย ผู้สอบบัญชีต้อง “ตรวจสอบเพิ่มเติมจนเป็นที่พอใจ” ก่อนที่จะสามารถให้ความเห็นต่องบการเงินได้ เพราะการฉ้อฉลอาจทำให้งบการเงินของบริษัทไม่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ “ถูกต้องตามควร”


ข้อกำหนดของการสอบบัญชีกล่าวไว้ว่า ผู้สอบบัญชีไม่มีความรับผิดชอบในการป้องกันการทุจริตหรือข้อผิดพลาด แต่การตรวจสอบประจำปีอาจยับยั้งการทุจริตและข้อผิดพาดได้

****
▼ อ่านงบการเงินให้เป็น (7)

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt-equity Ratio) คืออะไร?

มื่อเราทราบว่าสินทรัพย์ทั้งสิ้นของบริษัทต้องนำมาแบ่งกันระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ถือหุ้น นักการเงินจึงสร้างอัตราส่วนขึ้นมาจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดถึงสัดส่วนของหนี้สินต่อทุน (เรียกสั้นๆ ว่า ดีอีเรโช) โดยนำเอา “หนี้สินทั้งสิ้นหารส่วนทุนทั้งสิ้น”


ตัวอย่างเช่น 200,000/100,000 = 2:1 หมายความว่าบริษัทนั้นมีหนี้สินสองเท่าของส่วนทุน นักลงทุนดูดีอีเรโช เพื่อพิจารณาความเสี่ยงในการลงทุน ถ้าดีอีเรโชสูง ก็หมายความว่าบริษัทบริหารงานด้วยหนี้ หรือสินทรัพย์ในบริษัทเกิดขึ้นจากการกู้ยืมเป็นหลัก เมื่อบริษัทได้รายได้จากการดำเนินงาน บริษัทต้องนำรายได้ดังกล่าวมาจ่ายดอกเบี้ย ถ้าหนี้สูง ดอกเบี้ยอาจสูงจนทำให้ผู้ถือหุ้นไม่ได้รับผลตอบแทนต่อการลงทุนเต็มเม็ดเต็มหน่วย


ดีอีเรโชยังชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม ถ้าดีอีเรโชสูง โอกาสในการกู้ยืมเงินเมื่อจำเป็นอาจมีจำกัด และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสภาพคล่องได้ และหากบริษัทเกิดปัญหาสภาพคล่อง ทางเลือกที่เหลืออยู่จะกลายเป็นการออกหุ้นทุนเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ในการลงทุนได้ (สัดส่วนการถือหุ้นอาจลดลงถ้าไม่มีเงินเพียงพอมาซื้อหุ้นใหม่)


สำหรับเจ้าหนี้ ดีอีเรโชที่มีจำนวนสูงแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในการให้บริษัทกู้ยืมเงินเพิ่มเติม เพราะหากบริษัทมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยมากๆ บริษัทอาจไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำไปบริหารงานและล้มละลายในที่สุด หากบริษัทล้มละลาย การเรียกร้องสินทรัพย์ก็เป็นไปได้ยาก เพราะต้องแบ่งกับเจ้าหนี้หลายฝ่าย เจ้าหนี้อาจไม่ได้หนี้คืนเต็มเม็ดเต็มหน่วย

***
▼ อ่านงบการเงินให้เป็น (8)

การเรียงลำดับรายการภายใต้ “สินทรัพย์” มีหลักเกณฑ์อย่างไร?

ในประเทศไทย “สินทรัพย์”จะเรียงลำดับจากรายการที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วที่สุดและแน่นอนที่สุด เช่น เงินสด เงินลงทุน ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ ไปจนถึงรายการที่ไม่อาจเปลี่ยนเป็นเงินสดแต่จะเปลี่ยนเป็นบริการแทน เช่น ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า


รูปแบบการเรียงลำดับรายการในงบแสดงฐานะการเงินของแต่ละประเทศอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวคิดและข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ ในภาคพื้นยุโรป สินทรัพย์จะเรียงลำดับจาก “ไม่หมุนเวียน” ไปสู่ “หมุนเวียน” ในประเทศไทย สินทรัพย์หมุนเวียนจะแสดงอยู่ก่อนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนตามรูปแบบของอเมริกัน อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมาตรฐานบัญชีของประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากทางยุโรป ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจถ้ารูปแบบงบการเงินของประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

***

▼อ่านงบการเงินให้เป็น (9)

“เงินลงทุนเพื่อค้า” ต่างจาก “เงินลงทุนเผื่อขาย” อย่างไร?

“เงินลงทุนเพื่อค้า” มีไว้เพื่อการค้าจริงๆ (ชื่อก็บอกอยู่แล้ว) บริษัทบางบริษัทมีอาชีพในการค้าขายหลักทรัพย์ (หุ้นทุนหรือหุ้นกู้ที่มีสภาพคล่องจนสามารถซื้อง่ายขายได้ทันที) บริษัทจึงทำมาค้าขายหลักทรัพย์โดยการซื้อมาขายไปตลอดเวลาเพื่อตัดกำไรช่วงสั้น การทำมาค้าขายหลักทรัพย์ของบริษัทเหล่านี้มีรูปแบบชัดเจน บริษัทอาจทำการจัดกลุ่มสินทรัพย์ตามลักษณะความเสี่ยงและซื้อขายคละกันเพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุน หรือมีการบริหารจัดการโดยการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเป็นระบบ


“เงินลงทุนเผื่อขาย” มีไว้ขายเพื่อเก็งกำไรเหมือนกัน (ปกติจะไม่อยู่ในลักษณะที่เป็นอาชีพ) บริษัททั่วไปมักนำเงินที่เหลือใช้ไปลงทุนระยะสั้นในหลักทรัพย์เผื่อว่า เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน บริษัทจะได้นำหลักทรัพย์ออกขายได้ทันที โดยเฉพาะเวลาที่ราคาหุ้นกำลังขึ้น เพราะบริษัทอาจได้กำไรจากการลงทุนในขณะที่รอใช้เงินมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารที่มักให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า

***
▼ อ่านงบการเงินให้เป็น (10)

โดย : ดร.ภาพร เอกอรรถพร

ค่าเผื่อคืออะไร?

ค่าเผื่อคือ “บัญชีหัก” หรือบัญชีสินทรัพย์ซึ่งมียอดอยู่ทางด้านเครดิต (ตามปกติสินทรัพย์จะมียอดทางด้านเดบิต) ค่าเผื่อเป็นบัญชีที่มีไว้หักจากสินทรัพย์บัญชีอื่น เช่น ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนจะเป็นบัญชีที่นำไปหักจากบัญชีเงินลงทุน เนื่องจากราคาของเงินลงทุนได้ลดลง แต่บริษัทไม่ต้องการที่จะสูญเสียข้อมูลเดิมเกี่ยวกับเงินลงทุน จึงนำบัญชีค่าเผื่อมาหักจากบัญชีเงินลงทุนเพื่อแสดงยอดสุทธิ แทนที่จะลดจำนวนเงินลงทุนลงตรงๆ การทำอย่างนี้ทำให้เราได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

***
อ่านงบการเงินให้เป็น (11)

บัญชีปรับมูลค่าคืออะไร?

บัญชีที่จะนำมาปรับมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สินให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง เนื่องจากมูลค่าที่แสดงอยู่ภายใต้บัญชีสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่บริษัทต้องการแสดงยอดเดิมไว้เพื่อใช้อ้างอิงในภายหน้า จึงอาศัยบัญชีปรับมูลค่ามาบวกหรือลบบัญชีสินทรัพย์หรือหนี้สิน เพื่อให้ได้ยอดสุทธิตามมูลค่าที่ควรเป็นขณะที่ออกงบการเงิน

***
อ่านงบการเงินให้เป็น (12)

เมื่อมีการขายเชื่อก็ย่อมจะมีหนี้สูญ บริษัทต้องประมาณ “หนี้สงสัยจะสูญ” ที่น่าคาดว่าจะเกิดจากลูกหนี้ที่บันทึกไว้ (ดูจากประสบการณ์ในอดีต หรืออัตราหนี้สูญที่เกิดกับอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน) บริษัทต้องเครดิต“ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ”เพื่อนำมาหักจากบัญชี “ลูกหนี้” ในงบแสดงฐานะการเงินตามเกณฑ์คงค้าง โดยไม่ต้องรอให้ลูกหนี้กลายเป็นบุคคลล้มละลายก่อน


ข้อสังเกต นักบัญชีใช้คำว่า “หนี้สงสัยจะสูญ” เมื่อทำการประมาณ “หนี้สูญ” และบันทึกบัญชี “หนี้สงสัยจะสูญ” เป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวด แต่นักบัญชีใช้คำว่า “หนี้สูญ” เมื่อบริษัทได้ติดตามหนี้จนถึงที่สุดแล้วไม่ได้รับชำระหนี้

***
อ่านงบการเงินให้เป็น (13)

นักบัญชีใช้เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ในการบันทึกบัญชี ไม่ใช่เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) เกณฑ์คงค้างทำให้นักบัญชีต้องบันทึกบัญชีเมื่อมีรายการทางธุรกิจ “เกิดขึ้น” แทนที่จะบันทึกเมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสด เช่น บริษัทใช้ไฟฟ้าไปแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายค่าไฟ บริษัทต้องบันทึกบัญชีค่าไฟในงวดที่ใช้ไฟโดยการ



เดบิต ค่าไฟ (ถือเป็นบัญชีค่าใช้จ่าย)
เครดิตค่าไฟฟ้าค้างจ่าย (ถือเป็นบัญชีหนี้สิน)


สรุปว่า เกณฑ์คงค้างทำให้นักบัญชีต้องบันทึก “รายได้” และ “ค่าใช้จ่าย” ในขณะเดียวกับที่บันทึก “สินทรัพย์” และ “หนี้สิน” ในงวดที่ “เกิดขึ้น” ไม่ใช่งวดที่มีการชำระเงิน เพื่อให้สามารถวัดผลกำไรขาดทุนและฐานะการเงินที่แท้จริงของบริษัท

คำว่า “เกิดขึ้น” ในทางบัญชี มีความหมายที่เฉพาะเจาะจง เช่น รายได้ “เกิดขึ้น” เมื่อกระบวนการก่อให้เกิดรายได้เสร็จสิ้นลง และค่าใช้จ่าย “เกิดขึ้น” เมื่อบริษัทได้รับประโยชน์จากค่าใช้จ่ายนั้น หรือค่าใช้จ่ายนั้นหมดประโยชน์ต่อบริษัทแล้ว

***
อ่านงบการเงินให้เป็น (14)

โดย : ดร.ภาพร เอกอรรถพร

รายการระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันบอกอะไรแก่นักลงทุน?

รายการระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (เรียกสั้นๆ ว่า “รายการระหว่างกัน”) เช่น เงินให้กู้แก่กรรมการ เงินให้กู้แก่บริษัทในเครือ และลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การค้ากับบริษัทในเครือ เป็นรายการที่นักลงทุนต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากรายการเหล่านี้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทำให้บริษัทสามารถ “สร้าง” รายการดังกล่าวได้โดยไม่ต้องพึ่งบุคคลที่สาม เช่น ถ้าบริษัทเรียก “ค่าบริหารจัดการ (Management Fee)” จากบริษัทในเครือและบันทึกเป็นรายได้ รายได้ดังกล่าวอาจไม่สะท้อน “ความสามารถในการดำเนินงาน” ของบริษัทอย่างแท้จริง เนื่องจากบริษัทสามารถสั่งให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริหารจัดการเมื่อไรและเป็นจำนวนเท่าไรก็ได้ ดังนั้น นักลงทุนจึงควรพิจารณารายการระหว่างกันเป็นพิเศษก่อนตัดสินใจลงทุน


▼▲ขอบคุณพิเศษ นสพ กรุงเทพออนไลน์

อัตราส่วนทางการเงิน

วิธี ตรวจงบการเงินที่ง่ายที่สุดคือ การวัดอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ หรือที่เรียกว่า Ratio Analysis อัตราส่วนทางการเงินนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายตัวมาก เราอาจตรวจดูอัตราส่วนหลายๆ ตัวพร้อมกันเพื่อเป็นการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปของบริษัทก็ได้ ต่อไปนี้เป็นอัตราส่วนสำคัญ 6 ตัว ที่ผมแนะนำให้ลองตรวจสอบดูก็จะได้ภาพของธุรกิจที่ครอบคลุมพอสมควร

1. Quick Ratio = (เงินสดและเทียบเท่า + ลูกหนี้การค้า + ตราสารการเงินระยะสั้น) / หนี้สินหมุนเวียน
Quick Ratio ใช้เช็ค “สภาพคล่อง” ของบริษัท โดยลองสมมติว่าถ้าเจ้าหนี้ระยะสั้น (หนี้สินหมุนเวียน) ทั้งหมดมาทวงหนี้พร้อมกัน บริษัทจะยังสามารถหมุนเงินสด (จากสินทรัพย์หมุนเวียนที่หมุนได้เร็ว) มาใช้คืนได้หรือไม่ โดยสามารถสำนึก Quick Ratio ก็ควรมากกว่า 1.0 และยิ่งมากก็ยิ่งดี ที่จริงแล้วมีอัตราส่วนอีกตัวที่คล้ายกันชื่อ Current Ratio ซึ่งนับรวมสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดของบริษัทว่าเป็นสินทรัพย์ที่สามารถ เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว แต่ผมไม่ชอบ เพราะไม่รู้ว่าสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ คืออะไรบ้าง และเวลาบริษัทขาดสภาพคล่องส่วนใหญ่แล้วสินค้าคงคลังมักจะหมุนไม่ค่อยออก เลยชอบดู Quick Ratio มากกว่าครับ
2. Return on Assets (ROA) = EBIT *(1-Taxrate) / สินทรัพย์เฉลี่ย
ROA ใช้วัดผลตอบแทนของธุรกิจ เพราะวัดกำไร (EBIT)ที่ทำได้เทียบกับเงินทุนที่จมอยู่ในสินทรัพย์ทั้งหลายของกิจการ (ต้องเฉลี่ยต้นปีกับท้ายปีเอา เพราะว่าไม่เท่ากัน) โปรดสังเกตว่าผลตอบแทนของธุรกิจที่แท้จริงนั้นต้องวัดเทียบกับสินทรัพย์มิ ใช่รายได้ เพราะสุดท้ายแล้วต้นทุนจริงๆ ของผู้ถือหุ้นคือเงินทุนที่จมอยู่ในรูปของสินทรัพย์ของบริษัทแทนที่จะเอา เงินนั้นไปหาผลตอบแทนอย่างอื่น บางคนใช้ Net Income แทนกำไร แต่ผมคิดว่าควรใช้ EBIT มากกว่า เพราะสินทรัพย์เป็นของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นรวมกัน แต่ Net Income เป็นผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น เพราะหักดอกเบี้ยออกไปแล้ว ส่วนเหตุที่ต้องคูณด้วย 1-TaxRate เป็นเพราะ EBIT นั้นยังไม่ได้หักภาษีซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทออก มีอัตราส่วนอีกตัวหนึ่งที่คล้ายกันคือ ROE ซึ่งวัดผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นอย่างเดียว แต่ผมเห็นว่า ROA นั้นดีกว่า ROE เพราะธุรกิจอย่างเดียวกัน อาจมี ROE ต่างกันได้ด้วยการกู้เงิน ถ้าอยากวัดศักยภาพของธุรกิจจริงๆ โดยไม่เกี่ยวกับการกู้เงิน ต้องดูกันที่ ROA ธุรกิจทั่วไปควรมี ROA อย่างน้อย 10% เฉลี่ยในระยะยาว ยกเว้นพวกสถาบันการเงินซึ่งไม่มีทางทำ ROA สูงเท่ากับ Real Sector ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี
3. Debt to equity Ratio = (หนี้สิน) / ส่วนของทุน
D/E ratio คือ อัตราส่วนมาตรฐานที่ใช้ตรวจดู Leverage ของบริษัท หมายความว่า บริษัทใช้หนี้มากขนาดไหนในการเร่งผลตอบแทน เพราะบริษัทสองบริษัทที่ทำผลตอบแทนทางธุรกิจได้เท่ากัน บริษัทที่มีหนี้มากกว่าจะทำผลตอบแทนกลับสู่ผู้ถือหุ้นได้สูงกว่า (ROE มากกว่า) เนื่องจากใช้เงินทุนของผู้ถือหุ้นน้อย แล้วอาศัยการกู้เงินมาทุนแทน การที่บริษัทมี D/E ratio ที่สูงเกินไปจึงแสดงถึงความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ในผลตอบแทนที่มากกว่า เพราะถ้าธุรกิจสะดุด บริษัทที่มีหนี้มากกว่าย่อมเดือดร้อนมากกว่า อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทไม่มีหนี้เลยไม่ได้แปลว่าเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป บริษัทที่มีธุรกิจมั่นคงในระดับหนึ่งแล้ว และมีสินทรัพย์ถาวรที่สามารถใช้ค้ำประกันหนี้ได้ การมีหนี้น้อยเกินไปเท่ากับเป็นการละทิ้งโอกาสที่จะประหยัดภาษี เพราะหนี้เป็น Tax-shield อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นการมีหนี้บ้างไม่ใช่เรื่องเสียหาย อาจเป็นเรื่องที่ควรกระทำเสียด้วยซ้ำ แต่ที่เราต้องระวังคือการมีหนี้มากจนเกินไปจนทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยง มากกว่าที่จะช่วยทำให้ประหยัดภาษี สำหรับธุรกิจทั่วไปควรมี D/E ไม่เกิน 1.0 ถ้าเป็นธุรกิจซื้อมาขายไปอาจมี D/E ได้ถึง 3.0 ยกเว้นพวกสถาบันการเงินที่จะต้องมี D/E ที่สูงกว่านั้นมากครับ
4. Interest Coverage Ratio = (EBIT) / ดอกเบี้ยจ่าย
Interest Coverage Ratio ใช้ประมาณความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งแหล่งเงินภาย นอกบริษัท เพราะถ้าบริษัทมีภาระจ่ายดอกเบี้ยต่อปีน้อยกว่ากำไรที่ได้จากธุรกิจมากๆ บริษัทก็สามารถรับผิดชอบภาระดอกเบี้ยได้ด้วยผลกำไรจากธุรกิจเอง นับว่าเป็นความมั่นคงอย่างหนึ่งของธุรกิจในแง่ของสภาพคล่อง บริษัทที่มีค่านี้น้อยกว่า 2.0 แสดงว่าผลตอบแทนส่วนใหญ่ของธุรกิจตกอยู่ในมือเจ้าหนี้ แทนที่จะเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจแสดงถึงการกู้เงินที่มากเกินไปด้วย
5. Asset Turnover = (รายได้) / สินทรัพย์
Asset Turnover ใช้วัด “ประสิทธิภาพ” ของธุรกิจ เพราะวัดว่าภายใต้สินทรัพย์ที่มีอยู่จำนวนหนึ่ง บริษัทสามารถสร้างรายได้ได้มากแค่ไหน ยิ่งสร้างรายได้ได้มากแสดงว่าสินทรัพย์ของบริษัทถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่า เพราะนำไปหมุนให้เปลี่ยนเป็นเงินได้เร็ว บางบริษัทขายของกำไรน้อยมาก แต่สินค้าหมุนเวียนเร็ว ก็สามารถสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจที่สูงกว่าได้เหมือนกัน Asset Turnover จึงเป็นตัวเลขที่ไม่ควรมองข้าม ครั้งหนึ่งผมเคยเปรียบเทียบมาร์จิ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้วเห็น ว่าเหมือนๆ กันหมด แต่พอลองดู Asset Turnover ก็เห็นว่าแตกต่างกันมาก ทำให้ผมเกิดความสนใจบริษัทที่มี Asset Turnover สูงกว่าเพื่อน เพราะแสดงว่าจริงๆ แล้วบริษัทนี้ใช้สินทรัพย์ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่เวลาดูมาร์จิ้นแล้วไม่เห็นความแตกต่างเป็นเพราะลูกค้าของอุตสาหกรรมนี้ ค่อนข้างมีการเปรียบเทียบราคาสูงมากทำให้ไม่มีบริษัทไหนสามารถเอากำไรเกิน ตลาดได้ แล้วในที่สุดก็ทำให้ผมได้ค้นพบหุ้นชั้นยอดในเวลาต่อมา ถ้าเราดูแต่มาร์จิ้นเราจะไม่พบความแตกต่างตรงนี้ครับ
6. Inventory Turnover = (ต้นทุนสินค้าขาย) / สินค้าคงคลังเฉลี่ย
อันนี้เหมือน Asset Turnover แต่วัดกันที่การหมุนสินค้าคงคลังอย่างเดียวเลย เป็นการเช็คว่าสินค้าของบริษัทหมุนเวียนดีหรือไม่ มี dead stock ที่อาจเสื่อมค่าในอนาคตได้เยอะหรือไม่ เป็นตัวเลขที่สำคัญมากสำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าที่แตกต่าง เพราะแม้ว่าสินค้าที่แตกต่างมักจะทำมาร์จิ้นได้สูง แต่ถ้ามีส่วนที่ขายไม่ออกเยอะมาก (ซึ่งปกติต้องมีส่วนหนึ่งอยู่แล้ว) ถึงเวลาต้องมาตัดขาดทุนทิ้ง ทำให้สรุปแล้วอาจทำกำไรได้น้อยหรือขาดทุนเลยก็ได้ ถ้าเอา 365 ตั้งหารด้วย Inventory Turnover จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เรียกว่า Days Inventory Turnover มีหน่วยเป็น วัน ซึ่งหมายถึงระยะเวลาโดยประมาณที่สินค้าของบริษัทจะค้างอยู่ในคลังก่อนที่จะ ทำยอดขายให้บริษัทได้ ถ้ายิ่งมีค่าน้อยก็แสดงว่าสินค้าซื้อง่ายขายคล่อง ขายได้แบบแทบไม่ต้องขนขึ้นบ้านเลย เป็นต้น
ที่มา: http://portal.settrade.com/blog/1001ii/2010/11/25/957

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Guerilla Marketing : ต้นทุนต่ำ แต่ทำไงให้โดนใจเต็มๆ !

Feataure : Strategy : Guerilla Marketing : ต้นทุนต่ำ แต่ทำไงให้โดนใจเต็มๆ !(Marketeer/11/49) 
ตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ Guerilla Marketing  ถูกหยิบยกไปเป็นแผนการรบของแบรนด์ดังต่างๆ ทั่วโลก การตลาดแบบเดิมๆ ก็ได้แปลงโฉมไปจนมีความตื่นเต้นและเคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้น

ขณะที่ Guerilla Marketing (การตลาดกองโจร) เป็นซีรีย์หนังสือทางการตลาดที่ขายดีที่สุดชุดหนึ่งในประวัติศาสตร์ ขายได้มากกว่า 18 ล้านเล่ม จาก 42 ภาษา 

ความแตกต่างของการตลาดแบบดั้งเดิมกับการตลาดแบบกองโจรก็คือ การตลาดแบบเดิมมักทุ่มงบประมาณไปกับการโฆษณา ซึ่งทำให้ต้นทุนทางการตลาดสูง ที่สำคัญมันอาจไม่ได้ผลในยุคนี้ แต่การตลาดแบบกองโจรกลับให้ความสำคัญกับเวลา, จินตนาการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ใช้ต้นทุนน้อย หรือบางทีก็ฟรี 

……………………………………………………………………………………………..

Tip

สองวิธีสร้างความน่าสนใจในสมุดหน้าเหลือง 1. ซื้อพื้นที่โฆษณาใหญ่ๆ หรือ 2. ตั้งชื่อบริษัทว่า AAAAA

…………………………………………………………………………………………………



จากความคิดหลักของการตลาดกองโจรที่โฟกัสที่หลักจิตวิทยา และธรรมชาติของมนุษย์ นักการตลาดที่รักจะเข้าป่าไปเป็นโจรจึงต้องหัดศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ไว้บ้าง เพื่อแคมเปญการตลาดและการขายของตัวเอง

สมองของมนุษย์แบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก สมองส่วนจิตใต้สำนึกฉลาดกว่าเสมอ เช่น เวลาเมื่อเอื้อมมือไปจับของร้อน สมองส่วนจิตใต้สำนึกจะสั่งร่างกายให้รู้ทันทีว่าสิ่งนี้อันตรายกับร่างกาย อีกกรณีคือ นักช็อปทั้งหลายรู้ตัวดีว่าสินค้าที่ตัวเองกำลังจ้องตาเป็นมันนั่นแพง และเกินกำลังซื้อ แม้ว่าสมองส่วนเหตุ-ผลจะพิจารณาถึงข้อจำกัดทางการเงินได้ แต่ลงท้ายส่วนใหญ่ก็แพ้หัวใจตัวเอง จนยอมรูดบัตรเครดิตไปก่อนแล้วผ่อนทีหลัง

จากทั้งตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่าสมองส่วนจิตใต้สำนึกตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว รวมทั้งมีอำนาจเหนือสมองส่วนจิตสำนึกเสมอ ซึ่งนักการตลาดก็นำประโยชน์จากความรู้ด้านนี้มาพัฒนาจนเกิดการตลาดแบบใหม่ ที่มุ่งส่งข้อความไปยังจิตใต้สำนึก ต่างจากการตลาดแบบดั้งเดิมมักวางเป้าหมายไว้ที่สมองส่วนจิตสำนึก แล้วต้องรอขั้นตอนการพิจารณา

ความซับซ้อนของสมองทำให้จินตนาการที่บรรจุอยู่ภายในของมนุษย์แต่ละคนมีความเป็นปัจเจกสูงมากเก้าอี้ ที่เราคิดถึง อาจต่างจาก เก้าอี้ ของคนอื่น และทุกคนมีรูปแบบ เก้าอี้ ในใจ นักการตลาดกองโจรหยิบเอาความรู้ด้านนี้มาใช้ประโยชน์ เวลาที่มนุษย์ได้ยินคำหนึ่งคำในภาษาแม่ ทุกคนจะมีความทรงจำกับคำนั้นแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ดังนั้นครีเอทีฟต้องไม่เอา เก้าอี้ ของตัวเองเป็นศูนย์กลางแล้วคิดว่าคนอื่นจะจินตนาการเหมือนตัวเองไปซะหมด

นักการตลาดควรไต่ถามความต้องการจากลูกค้าไม่ใช่คิดเอาเอง เพราะการทำตลาดโดยที่ไม่ทำการวิจัยการตลาดมาก่อนนั้น ก็เหมือนคนตาบอดคลำช้าง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใหญ่ระดับโลกหรือแบรนด์ท้องถิ่นล้วนต้องการงานวิจัยเชิงการตลาดมาช่วยสนับสนุนกิจกรรมของตัวเองทั้งสิ้น

โคคา-โคล่า เป็นบทเรียนของแบรนด์ใหญ่ที่ละเลยการทำวิจัยผู้บริโภค โคคา-โคล่าเคยแนะนำ New Cokeออกสู่ตลาดแล้วล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะไม่ได้ทำวิจัยความต้องการของผู้บริโภคมาก่อนเลย จนกระทั่งล้มเหลวโคคา-โคล่าจึงหันหลังกลับมาถามลูกค้าว่าต้องการอะไร แล้วสิ่งที่ Serio Zyman หน้าฝ่ายการตลาดของโคคา-โคล่า ค้นพบก็คือ คนดื่มโค้ก ไม่ใช่แค่ต้องการรสชาติ แต่คนเหล่านั้นติดกับโคคา-โคล่าเพราะประวัติศาสตร์และความรู้สึกเป็นชุมชนเดียวกัน ดังนั้นแทนที่จะทุ่มงบประมาณไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่และฝันว่าคนจะซื้อ โคคา-โคล่าควรรักษาประสบการณ์ที่เชื่อมโยงลูกค้าไว้ดีกว่า

เมื่อทำความความรู้จักกับผู้บริโภคแล้ว ขั้นต่อมา คือ การวางแผนประชาสัมพันธ์ การตลาดแบบกองโจรต้องใช้นโยบายที่ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกบังคับขู่เข็ญให้ซื้อสินค้า แต่เขาเหล่านั้นซื้อเพราะได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ จึงตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนั้นด้วยตัวเอง โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริโภคล้วนต้องความเป็นปัจเจก ไม่ซ้ำกับคนอื่น สิ่งที่นักการตลาดต้องทำ คือ

อย่าคิดว่ากำลังทำการตลาดให้สินค้า

อย่าคิดว่ากำลังทำการตลาดให้บริการ

อย่าคิดว่ากำลังทำการตลาดให้องค์กร

แต่...ให้คิดว่ากำลังขาย ความรู้สึก



ส่วนเครื่องมือที่จะนำมาใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเป็นกองโจร เริ่มจาก ภาษา

ภาษาเป็นอาวุธทางการตลาดที่ทรงพลังยิ่ง มีวิธีการที่จะช่วยให้ผู้รับเห็นแล้วรู้สึกตื่นเต้นกับข้อความตรงหน้า การใช้ข้อสมมุติฐาน ลองสร้างสรรค์ข้อความที่กระตุ้นให้คนอ่านเดา หรือเทคนิคการละข้อความมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น เรารู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร (แต่ไม่เคยบอกเลยว่าแล้วตกลง...รู้อะไร?) การตลาดแบบเก่าจะตั้งประโยคคำถามที่ต้องตอบว่า ใช่ อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วประโยคคำถามที่คนอยากตอบปฏิเสธ ทรงพลังกว่ามาก เช่น คุณไม่อยากประสบภาวะทางการเงินใช่ไหม หรือบางครั้งใช้คำสั่งที่นุ่มนวลชักจูง ผู้อ่านคงรู้สึกดีกว่าถ้าหนังสือเล่มนี้บอกว่า คลิกwww.marketeer.co.th เพื่อข้อมูลการตลาด แทนที่จะเป็น เข้าเว็ปเรา เดี๋ยวนี้”       

หลังจากที่เพียรพยายามเขียนข้อความโดนใจแล้ว ช่วงเวลาที่จะส่งข้อความนี้ออกไปก็สำคัญไม่แพ้กัน เขียนดีแต่ไม่มีคนอ่าน แคมเปญนั่นก็ไม่ประสบความสำเร็จ ตามหลักจิตวิทยาผู้บริโภคจะต้องรับรู้ข้อความถึง 9 ครั้ง จึงจะตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดนั้น โชคร้ายที่โดยเฉลี่ยแล้วผู้ถ่ายทอดต้องส่งข้อความถึง 3-4 ข้อความ ผู้รับสารจึงจะรับได้ 1 ครั้ง แปลว่า กว่าจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจหยิบสินค้าขึ้นมาจ่ายตังค์ นักการตลาดต้องพยายามมากกว่า 27 ครั้ง ใช้เวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งอาทิตย์ หรือในบางอุตสาหกรรมกระบวนการตัดสินใจซื้อกินเวลานานถึง 18 เดือน !

เพราะว่าความรู้สึกมนุษย์เหมือนกงล้อที่หมุนไปเรื่อยๆ แล้วการตลาดก็ไม่ใช่เหตุการณ์ แต่เป็นกระบวนการ แบรนด์จะเป็นที่จดจำไม่ใช่แค่โดนใจในระยะแรก แต่ต้องอาศัยการตอกย้ำคอนเซ็ปท์เดิมซ้ำๆ ความพยายาม 27 ครั้ง ไม่ใช่สิ่งผิด แต่ถ้ามีทางลัดคงดีกว่า ช่วงเวลาที่คนอ่อนไหวเป็นช่วงที่สร้างความจดจำได้ง่ายที่สุด เวลาที่มีคนบอกรัก ทุกคนจะรู้สึกดี แต่จะให้บอกรักลูกค้ากันตรงๆ คงแปลกพิลึก ดังนั้นการสร้างบรรยากาศที่ลูกค้าชื่นชอบก่อนที่ส่งสารออกไป จึงเป็นหนทางที่สารนั้นจะถึงจิตใต้สำนึกของลูกค้าได้เร็วกว่า

เมื่อสร้างแบรนด์ด้วยความยากลำบาก พอสินค้าโด่งดังแล้ว กองโจรทั้งหลายอย่าได้ละย่าละทิ้งกฎ ถ้าอยากคงความเป็นนักการตลาดกองโจรที่มีคุณภาพ ต้องหัดเป็นผู้ใหญ่หัวใจเด็กอยู่เสมอ เด็กไม่เคยหยุดเรียนรู้ ช่างซักช่างถาม และจะไม่หยุดจนกว่าจะเข้าใจ เด็กเป็นนักตื้ออันดับหนึ่งเจ้าตัวน้อยไม่เคยหยุด เมื่อเจอคำว่า ไม่  กล้าจะคุยกับคนอื่นแม้ว่าจะเพิ่งรู้จักกันเป็นครั้งแรก ทำงานแบบเด็กด้วยการเรื่องสนุกสนานทั้งวัน ชอบอยู่นอกกฎเกณฑ์อยู่เรื่อย สร้างสรรค์ นักการตลาดก็เช่นกันอย่าปล่อยให้ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าขาดหาย รักษาคำสัญญาในระยะยาวกับลูกค้าปัจจุบันและคนที่มีศักยภาพพอจะเป็นลูกค้า ทำให้คนรู้สึกอยากรู้ อยากลองกับสินค้าของเราตลอดเวลา

..................................................................................................................

(กรอบ)

การใช้จิตวิทยาผู้บริโภคดูจะเป็นศาสตร์ทางตะวันตก ลองมาติดตามความเห็นกูรูไทยบางว่าการตลาดที่ใช้อารมณ์เป็นพื้นฐานสำคัญอย่างไร

 ดร.เสรี  วงษ์มณฑา กล่าวในงาน วันนักการตลาด ในหัวข้อ Heartfelt Markerting in Action ระบุว่าความสำเร็จของการตลาดในสมัยนี้ ต้องการส่วนผสมทั้งหัวใจ+สมอง คือให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าเนื่องจากพิจารณาเหตุ-ผล แล้วคิดว่าสินค้าชิ้นนั้นควรค่าแก่การซื้อ และรู้สึกว่าเหมาะสมกับตัวเองด้วยความชอบ แม้ว่าในความเป็นจริงคงไม่มีนักการตลาดคนไหน ผสมสัดส่วนของสมองและหัวใจได้ลงตัวขนาด 50:50 แต่ก็ขอให้สินค้ามีคุณค่าที่สัมผัสได้จากทั้งสองส่วน  

                ถ้าคุณทำให้สินค้าของคุณขายได้โดยที่พอถามลูกค้าว่าทำไมถึงซื้อ แล้วลูกค้าตอบว่า ไม่รู้สิ...ชอบ ไม่รู้หรอกว่าชอบตรงไหน ชอบแบบรวมๆ นั่นแหละ แปลว่าการตลาดของคุณประสบความสำเร็จแล้ว คือ เขาบอกเหตุผลที่ชอบไม่ได้ เขาไม่ได้ใช้สินค้าเนื่องจากเหตุ-ผล แต่เขาชอบเพราะเขารู้สึกว่า ใช่เลย เหมือนผู้หญิงกำลังจะแต่งงานกับผู้ชายสักคนนั้นแหละยังไงก็หยุดไม่อยู่ แบบนี้ต่อให้คู่แข่งลองทำวิจัยแล้วอยากจะเลียนแบบ ก็เลียนแบบ ไอ้ที่ว่า ชอบแบบรวมๆ ไม่ได้

ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดต้องรู้ก็ คือ ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า อย่าสร้างแผนการตลาดโดยใช้ลางสังหรณ์ตัวเอง ให้เหตุผลกับลูกค้าว่าทำไมต้องซื้อสินค้าชิ้นนี้ในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้ลูกค้าชอบโดยส่วนตัวให้ได้ สร้างความรู้สึกเป็นปัจเจกและสร้างความรู้สึกว่าลูกค้าอยู่สูงกว่า ดีกว่าสถานะที่แท้จริงเมื่อรับสินค้าหรือบริการนั่นๆ

.........................................................................................

(กรอบ)

หัวใจกองโจร

-ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล

-ไม่ลงเงินเยอะ แต่ทุ่มเวลา พลังกำลัง และจินตนาการ ให้ความสำคัญกับการสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ใหม่ๆ

-สร้างสรรค์กิจกรรมจากสิ่งที่สังคมคุ้นเคยดีอยู่แล้ว อย่าเสียเวลากับการเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใกล้เคียง

-เน้นครองใจลูกค้าเดิมดีกว่ามุ่งสร้างลูกค้าใหม่

-ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

-บางครั้งอาจต้องผสานวิธีการทางการตลาดหลายอย่างลงไปในแคมเปญเดียว



…………………………………………………………………………………….

กองโจรนักขาย

ปัจจุบันการแสวงหาลูกค้าใหม่จะต้องใช้งบประมาณเป็น 6 เท่าของการรักษาลูกค้าเดิม กลยุทธ์ที่นักขายจะนำมาใช้จึงต้องเน้นการสร้างยอดขายอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่หาลูกค้าใหม่อยู่ร่ำไป

นักขายแบบดั้งเดิม มักจะย้ำข้อบกพร่องของลูกค้า แล้วระบุว่าสินค้าของตัวเองเข้ามาช่วยปรับปรุงข้อเสียนั่นได้อย่างไร การขายเช่นนี้ทำให้องค์กรธุรกิจเติบโตมาหลายทศวรรษเพราะการแข่งขันในตลาดยังน้อยอยู่ แต่เมื่อโลกเปลี่ยน มีบริการแปลกๆ ใหม่ๆ  เกิดขึ้นทุกวัน การขายแบบเดิมอาจไม่ยืนระยะอีก ก็คิดดู...มีใครที่ไหนอยากฟังข้อเสียตัวเองให้เจ็บปวดหัวใจกันมั้ง หรือใครจะยอมรับว่าสิ่งที่เลือกมาตลอดนั่น...ผิดพลาด

ลองดูตัวอย่างเซลล์แมนสไตล์โบราณจากบทสนทนาต่อไปนี้

บ๊อบ:       สวัสดีครับ ได้ข่าวว่าคุณส่งสินค้าช้ากว่าคู่แข่ง 

ลูกค้า:     ใช่ ผมใช้เวลา 7-10 วัน แต่คู่แข่งส่งได้ใน 5-7 วัน

 บ๊อบ:      แบบนี้คุณก็เสียลูกค้าไปเยอะเลยสิ

ลูกค้า:     เดือนที่แล้วก็ 3-4 ราย

บ๊อบ:       คิดเป็นเงินเยอะเลยนะ

ลูกค้า:     อืม...ผมอาจต้องลดการจ้างพนักงานลงถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้

บ๊อบ:       แบบนี้ก็ต้องมีพนักงานที่อาจตกงานนะสิ แย่จริง เอาอย่างนี้ให้ผมแนะนำบริการของเราที่จะช่วยคุณ

พัฒนาการจัดส่งได้ไหมครับ

                การขายแบบแทงใจดำลูกค้า และชี้ให้เห็นว่าถ้าลูกค้าไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ชีวิตของลูกค้าต้องย่ำแย่แน่ๆ เป็นวิธีการขายที่ไม่สร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว เพราะลูกค้าจะตัดสินใจอันเนื่องจากความจำเป็นบังคับ แต่ถ้าลูกค้าเลือกเพราะข้อเสนอที่ดีกว่า ลูกค้าจะยึดมั่นในองค์กรนั่นๆ ต่อไป ลองดูการขายในตัวอย่างที่สอง

มาร์ค:     สวัสดีครับ คุณบอกว่าคุณจัดส่งสินค้าได้ช้ากว่าคู่แข่ง

ลูกค้า:     ใช่ ผมใช้เวลา 7-10 วัน แต่คู่แข่งส่งได้ใน 5-7 วัน

มาร์ค:     ไม่ทราบว่าคุณอยากได้บริการที่ส่งสินค้าได้เร็วขึ้นแค่ไหน

ลูกค้า:     5-7 วันเท่ากันก็โอเค

มาร์ค:     แล้วถ้าเราจัดส่งได้ภายใน 3-4 วันล่ะ

ลูกค้า:     จริงเหรอ เจ๋งขนาดนั้นเชียว

มาร์ค:     นั่นต้องทำให้ลูกค้าของคุณตัดสินใจง่ายขึ้นมากทีเดียว ว่าจะเลือกใคร

ลูกค้า:     แน่นอน

มาร์ค:     ถ้าอย่างนั้นให้ผมแนะนำบริการของเราที่จะช่วยคุณพัฒนาการจัดส่งนะครับ

                เปรียบเทียบการขายของสุดยอดเซลล์สองคนนี้วิธีการขายของมาร์ค ถือว่าเข้าตำรากองโจร เพราะชูจุดขายเชิงบวกกับลูกค้า โดยไม่ตอกย้ำปมด้อยให้ลูกค้าสูญเสียความมั่นใจ อย่างไรก็ตามการขายแบบนี้จะน่าสนใจก็ต่อเมื่อสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในมือ แจ๋ว จริงและสร้างความตื่นเต้นกับลูกค้าได้เท่านั้น

การทำให้ลูกค้าพอใจนั่นเป็นเรื่องง่าย แต่จะให้ลูกค้าจงรักภักดีนั่นยาก ดังนั้นการขายจึงต้องใช้เทคนิคการขายการที่จับใจลูกค้า จนเข้าถึงจิตใต้สำนึก มนุษย์ทุกคนรู้ตัวเสมอเวลาถูกควบคุม ในขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าอยากมีอำนาจเหนือคนอื่น ดังนั้นผู้ขายที่ดีต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า สามารถควบคุมปัจจัยทุกอย่างได้ และเขาคือคนที่สำคัญที่สุด กองโจรนักขายต้องหยิบยื่นมิตรภาพให้ทุกคน แต่เลือกเสนอการขายกับคนที่มีอำนาจตัดสินใจซื้อเท่านั้น เพื่อประหยัดเวลาและลดขั้นตอนการอันจะทำให้การสื่อสารถูกบิดเบือนไป

                    

...........................................................................................................................

Geurilla Internet PR

ฝึกตัวเองให้เป็นพีอาร์ กองโจร  

การประชาสัมพันธ์เป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ Edward Bernays บิดาแห่งหลักการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานที่ยากลบเลือน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พีอาร์ต้องการ เชื่อมั่นเสมอว่าอารมณ์เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในธรรมชาติของมนุษย์ โดยที่ไม่ต้องสั่งให้เขาคิด เพียงแค่ใส่หลักฐาน ความคิดเห็น และความจริงเข้าไปแล้วให้ผู้รับสารกลั่นกรองออกมาด้วยตัวเอง และถ้าทำได้เนียนพอข้อสรุปที่ออกมาก็จะตรงกับไฮไลต์ที่ต้องการจะสื่อเอง

ความต่างของประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมกับพีอาร์กองโจรคือ เงิน พีอาร์กองโจรใช้งบประมาณจำกัด เกาะกระแสถานการณ์ทางการเมือง อุตสาหกรรม และบันเทิงแบบวันต่อวัน และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยจุดกระแส  

ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 45 ล้านคนทั่วโลกในหนึ่งวัน ปี 2002 ผู้ใหญ่ 88% เข้าถึงสื่อไซเบอร์นี้ได้ ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตในการประชาสัมพันธ์ คือ เป็นจุดเริ่มต้นพาไปสู่การเข้าถึงสื่ออื่น ทำให้แบรนด์ไปไกลระดับนานาประเทศได้โดยที่ไม่ต้องตั้งสาขา ทั้งยังทำให้แบรนด์ดูดีเข้ากับยุคดิจิตอล พีอาร์สามารถทำงานในอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ในโลกไม่เว้นแม้แต่ห้องนอน 

บางคนเข้าใจผิดคิดว่าเน็ตคือเว็บไซด์ความจริงแล้วมีอะไรมากกว่านั้น อี-เมล์ เปรียบเสมือนของขวัญจากพระเจ้าสำหรับเหล่ากองโจร ความง่าย ถูกและเร็วเป็นสามคุณสมบัติที่เหมาะเหม็งให้พีอาร์สานสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้บริหารสื่อ แต่ต้องให้แน่ใจว่าไม่ใช่ Spam mail เพราะถ้าลูกค้ารู้สึกไม่ดีตั้งแต่ครั้งแรก ก็ไม่มีโอกาสครั้งที่สองอีก และถ้าเขาตอบปฏิเสธเมล์ก็อย่าดันทุรังส่งต่อ โดยมีกฎเหล็กของเนื้อหาอี-เมล์บางข้อที่ต้องเคร่งครัด เช่น บอกเฉพาะเรื่องจริงเท่านั้น แต่อย่าบอกตอนนี้ถ้ามีของดีกว่ารออยู่ ในส่วนของเว็บไซต์นั่น พีอาร์ต้องรู้จักใช้ประโยชน์ของเว็บไซต์องค์กรให้มากที่สุด  เพราะเว็บไซต์ของตัวเองเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม หมั่นปรับปรุงหน้าเว็บให้ข้อมูลอัพเดท ดูน่าสนใจ โหลดข้อมูลได้เร็ว ใช้ง่าย มีข้อมูลของบริษัทครบถ้วน ติดต่อกับเจ้าของแบรนด์ได้จริง ในขณะที่เสียงเมาท์ในอินเทอร์เน็ตแพร่เร็วยิ่งกว่าไฟป่า ดังนั้นอย่าละเลยการตรวจตราเว็บบอร์ดที่ผู้คนแสดงความคิดเห็นบ่อยๆ เพราะนั่นคือที่ปล่อยข่าวดีและข่าวร้ายที่ทรงอิทธิพลนัก

อย่าลืมประชาสัมพันธ์แบบกองโจรต้องเร็ว...เร็วกว่า...และเร็วที่สุด  

Blair Witch Project เป็นตัวอย่างอันดีของแคมเปญประชาสัมพันธ์ที่จะชี้ให้เห็นว่า Geurilla Internet P.R.ไม่ใช่เรื่องใหม่และใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรม ภาพยนตร์สยองขวัญต้นทุนต่ำเรื่องนี้เริ่มต้นเงินเพียง 35,000 เหรียญสหรัฐ ที่แปลกคือ เป็น Horror film ที่แทบไม่มีเลือด ไม่มีสัตว์ประหลาด และปราศจากความรุนแรง แต่หนังเรื่องนี้กลับประสบความสำเร็จทั่วโลก นอกจากความแปลกใหม่แล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากการโปรโมตที่สร้างจุดสนใจ ก่อนภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าฉายเว็บไซต์ www.blairwitch.com มีการให้ข้อมูลเรื่องตำนานป่าต้องคำสาป จำนวนคนที่เสียชีวิตในพื้นที่แต่ละปี คนที่ไม่รู้ขั้นตอนการสร้างหนังเรื่องนี้มาก่อน ต้องเชื่อหัวปักหัวปำว่า ป่านี้สยองจริง

โดยที่ในเว็บไซต์ไม่ได้ใส่ตัวอย่างหนัง แต่นั่นยิ่งทำให้คนอยากดู Key success ก็คือเส้นแบ่งระหว่างความจริงกับนิยาย ทีมงานของหนังเรื่องนี้ไม่เคยฟันธงว่าป่าแห่งนี้มีมอนสเตอร์จริงๆ เพียงแค่โชว์ภาพสลัวๆ ของทีมงาน 3 คน ที่ถูกหลอกหลอนเท่านั้นเอง ด้วยกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์แบบกองโจร จากหนังที่สร้างด้วยต้นทุนสามหมื่นกว่าเหรียญ กลับสร้างรายได้ 135 ล้านเหรียญ และเป็นหนังที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดในค.ศ. 1999 ยิ่งเข้าเว็บไซต์ไปอ่านข้อมูลมากยิ่งขึ้น ทุกคนยิ่งอยากเป็น เหยื่อ ของหนังเรื่องนี้ อานิสงก์ของความสำเร็จนี้ส่งให้ทีมผู้สร้างได้งานต่อเนื่องทั้งโปรเจ็กท์หนังและซีรีย์ในทีวี

พีอาร์กองโจร ต้องเลิกคิดถึงข่าวที่โดนใจทุกคนได้แล้ว มองหาความชื่นชอบส่วนบุคคลแล้วเจาะจงลงไปจะได้ผลมากกว่า มนุษย์ต่างจากมดงานตรงที่ทุกคนมีความคิดเป็นปัจเจก (แต่มักคิดว่าตัวเองเป็น คนไม่สำคัญทุกที) ดังนั้นพีอาร์มีหน้าที่หยิบยื่นความพิเศษให้กับผู้รับสื่อเพื่อกระเทาะเปลือกความรู้สึกนั่นออกมาให้ได้ ดังนั้นแคมเปญ โปรโมชั่นหรือสื่อที่เลือกใช้จงกำหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การทำแคมเปญในลักษณะแหวกแนวอาจจะยากในระยะแรกๆ แต่ถ้ามีเป้าหมายอย่างชัดเจน และมีความเชื่อว่างานจะประสบความสำเร็จ ก็ควรเดินหน้าต่อไป กิจกรรมที่ทำแต่ละครั้งตอบวัตถุประสงค์ โดยที่ความสำเร็จแต่ละครั้งที่ทำเชื่อมโยงกันได้ ตอกย้ำภาพลักษณ์ของแบรนด์ไปเรื่อยๆ

                แม้ว่าจะตั้งใจทำงานแค่ไหน แต่ทุกคนต้องมีข้อผิดพลาด หลังสำรวจข้อผิดพลาดที่อาจะเกิดขึ้นกับพีอาร์กองโจร พบบทเรียนมากมาย เช่น ส่งอี-เมล์มากเกินไปจนน่ารำคาญ เว็บไซด์ไม่น่าสนใจ โหลดช้า โกหกสื่อ คิดว่าอินเตอร์เน็ตคือพระเจ้าจนลืมประชาสัมพันธ์กับสื่ออื่น เผยแพร่เรื่องราวออกสู่สาธรณชนทั้งที่ยังไม่มีเรื่องราวที่จับใจ เหตุการณ์เหล่านี้จัดแบ่งได้ออกเป็น 2 ปัญหาใหญ่ 1 ปัญหาทางเทคนิค ซึ่งแก้ไขได้โดยสอบถามขนาดเซริ์พเวอร์ขนาดใดจึงจะเหมาะสม ทำงานร่วมกับ web host service เพื่อขจัดปัญหาเว็บล่ม 2. ปัญหาด้านข้อความ อย่าส่งข้อความหาสื่อมากเกินไป และอย่าส่งข้อความที่ชวนให้สับสน ต้นทุนในการแก้ไขความเสียหายแพงกว่าต้นทุนการสร้างใหม่เสมอ   

อย่างไรก็ตามจำไว้เสมอว่า การประชาสัมพันธ์ก็เหมือนกับกล่องของขวัญผูกโบว์ ถึงกระดาษห่อและริบบิ้นจะสวยหรูเพียงใด คำตอบที่แท้จริงอยู่ที่ขอในกล่องมากกว่า ดังนั้นรักษาสัญญาที่ลงในโฆษณา หรือจดหมายข่าว อย่างเคร่งครัด อย่าเอ่ยคำสัญญาอะไรที่พีอาร์เองทำไม่ได้ผ่านสื่อเพียงเพื่อต้องการสร้างกระแสเท่านั้น ในท้ายที่สุดทั้งสื่อและลูกค้าจะไม่เชื่อมั่น

และเมื่อประสบความสำเร็จ จนแบรนด์เป็นที่จดจำพีอาร์ต้องเผชิญกับคู่แข่งและเงื่อนไขที่ท้าทายขึ้น เตรียมรองรับก้าวต่อไปของความสำเร็จไว้ด้วย กองโจรที่ดีต้องยึดมั่นในวินัยอย่างเคร่งครัดนั่นคือการก้าวแบบทีละเล็กละน้อย แต่เคลื่อนไหวรวดเร็ว ซึ่งนั่นเหนือกว่าการขับเคลื่อนครั้งใหญ่เพราะอืดอาดกว่า ระลึกไว้เสมอว่า การประชาสัมพันธ์แนวนี้ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอด การอยู่นิ่งไม่ใช่วิสัยของการรบแบบจรยุทธ์ ถ้าไม่ก้าวหนีออกไปคู่แข่งจะก้าวขึ้นมาเหยียบจนแซงหน้าไป และทุกๆ ครั้งที่มีความเคลื่อนไหว อย่าลืมส่งข่าวให้สื่อรู้ อย่าลืมจัดงานอีเว้นท์รองรับ และปรับข้อมูลในเว็บไซด์ ทำกิจกรรมลักษณะเดิมเมื่อครั้งเริ่มต้น  





(กรอบ 1)

ฝึกหนักเพื่อเข้าขบวนการ


-น่าเศร้าใจที่ระบบการศึกษาปัจจบันได้ทำลายทักษะทางการสื่อสารของมนุษย์ไปมาก ดังนั้นพีอาร์กองโจรต้องฝึกให้การสื่อสารของตัวเองชัดเจน เริ่มฝึกด้วยการเล่าข่าวที่อ่านมาจากหนังสือพิมพ์ นิตยสารในสไตล์ตัวเอง แล้วอัดเทปโดยให้เวลาแค่สองนาทีต่อหนึ่งข่าว หลังจากนั้นลองฟังว่าคุณฟังตัวเองพูดรู้เรื่องหรือเปล่า


-สร้างมนุษยสัมพันธ์ส่วนตัวให้มากที่สุด เพราะตัวตนของคุณเป็นหน้าด่านแรกของข่าวที่คุณส่ง แต่งตัวให้เข้ากับคอนเซปท์ข่าว หัดใส่ใจกับคู่สนทนา มีคอร์สหรือหนังสือฝึกบุคลิกภาพมากมายรอให้คุณไปค้นคว้าเพิ่มเติม


-ตามข่าว และเทคโนโลยีใหม่ๆ สม่ำเสมอ ถ้าคุณยังเป็นพีอาร์ยุคไดโนเสาร์ ที่ไม่รู้จักอินเทอร์เน็ต หัดคลิก!ได้แล้ว 




(กรอบ 2)

ส่งข่าวแบบไหนโดนใจสื่อ


-สื่อกระหายความแปลกใหม่อยู่เสมอ ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่ทำอยู่ สด ตื่นเต้น และแตกต่าง

-สื่อต้องการเรื่องราวเสมอ และต้องไม่ใช่เรื่องราวพื้นๆ ดังนั้นพีอาร์ที่ดีต้องแต่งแต้มเรื่องราวให้สินค้าพิเศษขึ้น

-เขียนจดหมายถึงสื่อให้รู้สึกอบอุ่น อย่าทางการจนห่างเหิน

-ให้ข้อมูลครบถ้วน ใช้ภาษาง่าย เหมาะสมกับคนทุกระดับ

-ตอบคำถามประเภท ใคร,ทำอะไร,ที่ไหน,เมื่อไร, อย่างไร ได้ครบถ้วน













.........................................................................



(กรอบ)

นามบัตรของกองโจร


ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับนามบัตรแบบสุดๆ ถ้าปฏิบัติต่อนามบัตรของเขาไม่ดี ทิ้งๆ ขว้างๆ นั่นหมายถึง กำลังเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของเจ้าของนามบัตรกันเลยทีเดียว นักการตลาดสไตล์กอริลล่าก็ต้องให้ความสำคัญกับนามบัตรเช่นเดียวกัน เพราะปัจจุบันนามบัตรไม่ใช่แค่การบอกชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์

ถ้ากำลังจะทำนามบัตร อย่าลืมว่า...

-         เดี๋ยวนี้นามบัตรเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดไปแล้ว

-         ควรใส่สโลแกน สิทธิพิเศษที่ลูกค้าจะได้รับลงไปในนามบัตรเลย ถ้าที่ตั้งบริษัทหายาก ใส่แผนที่ลงไปก็ไม่ผิดกติกา

-         ลองคิดถึงนามบัตรแบบเป็นซองดูบ้าง ด้านหน้าเป็นนามบัตรปกติ แต่ข้างในสอดโบรชัวร์เล็กๆ ไว้ การทำให้ผู้พบเห็นประทับใจตั้งแต่แรก เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในภายหลัง

-         ตัวอักษรใหญ่พอสำหรับคนทุกวัย

-         ใส่ข้อมูลสำคัญไว้ ลูกค้าจะได้รู้สึกว่า น่าเก็บ

-         มีที่ว่างเหลือไว้ใส่ข้อความพิเศษ

จงคิดว่าการออกแบบนามบัตรเป็นเกมส์ที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง ใส่ใจกับมันอย่าปล่อยให้นามบัตรหมดกระเป๋า และพยายามหยิบแจกทุกคน 





Case 1

รากหญ้า มาร์เก็ตติ้ง

                ธุรกิจเทเลคอมมิวนิเคชั่นมีผู้ประกอบการในตลาดไม่กี่ราย แต่ละรายล้วนแล้วแต่พลิกกลยุทธ์การแข่งขันมาใช้กันอย่างแยบยล ค่าย ทรู ใช้การ Convergence เพื่อผสานบริการเข้าด้วยกันเนื่องจากพื้นฐานซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีธุรกิจสื่อสารหลายรูปแบบอยู่ในมือ  ส่วน “1-2-3” ของ เอไอเอส ชูจุดเด่นด้วยความแน่นอนของสัญญาณโทรศัพท์ และอาศัยความได้เปรียบที่เบอร์หนึ่งในตลาด ระยะหลังโปรโมชั่นของค่ายนี้จึงพยายามดึงลูกค้าใหม่จากฐานลูกค้าเดิม

Happy จากดีแทค กลับคิดต่างมุม โดยสร้างเครือข่ายการตลาดแบบ Divergence (กระจายตัว) อาจเป็นเพราะรูปแบบธุรกิจของดีแทคขายสัญญณาโทรศัพท์อย่างเดียว เมื่อมีอย่างเดียวเลยขายแพ็คคู่อย่างคนอื่นเขาไม่ได้ ที่ผ่านมา ดีแทค เป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จด้วยการตลาดแบบ ป่าล้อมเมือง มาโดยตลอด ล่าสุดกับตัวอย่างของการเปิดแนวรุกใหม่ เปิดตัวทีมร้านค้าบนมือถือ Virtual  Distribution โดยร่วมมือกับร้านชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ตั้งเป็นเครือข่ายเติมเงินทั่วประเทศ

ธนา  เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมิวนิเคชั่น กล่าวถึงแนวคิดเรื่องนี้ว่า

แนวคิดในการสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ของร้านค้าบนมือถือ หรือ Massive Virtual  Distribution ของแฮปปี้ออนไลน์เป็นลักษณะของการทำการตลาดแบบ Divergence หรือการกระจายตัว ต้องการเน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนมากกว่าเป็นอิเล็กทรอนิกส์ แนวคิดนี้จะทำให้แฮปปี้มีจุดจำหน่ายมากที่สุดในอนาคต

 กิจกรรมนี้ถือเป็นตัวอย่างของ Guerilla Marketing ที่ชัดเจน โดยบุกถึงหัวใจของผู้บริโภคตั้งแต่ระดับรากหญ้า เพราะมีเงินแค่ 20 ก็เติมเงินเมาท์ได้แล้ว สอดคล้องกับการให้บริการในระบบ พรี-เพด ลูกค้าส่วนใหญ่ก็คือวัยรุ่นหรือคนที่พร้อมจะเปลี่ยนเบอร์ตามโปรโมชั่นอยู่แล้ว ในยุคที่พฤติกรรมการใช้งานแบบพกหลายซิมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การทำการตลาดต้องสร้างความสะดวกสบายมากที่สุด ไม่เช่นนั้นขาโจ๋พร้อมจะสลับไปใช้ซิมอื่นทันที

เมื่อการตลาดแบบกอริลล่า ต้องทำการตลาดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่ผู้บริโภคคุ้นชินอยู่แล้ว รวมทั้งเทคโนโลยีในปัจจุบันก็รองรับหารขยายธุรกิจในลักษณะนี้ การจับมือกับแฟรนไชส์ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวจึงลงตัว ด้วยทำเลการขายของร้านบะหมี่เจ้านี้ ที่ไปที่ไหนก็เจอ และมีความเป็นเอกลักษณ์จำง่าย หาง่าย ประกอบกับจำนวนเบื้องต้น 45,000 กว่าแห่ง เป็นขุมพลังที่กระจายได้เกือบทั่วประเทศจริง และหวังให้กลายเป็น platform ขยายบริการในลักษณะเดียวกันออกไปได้อีก จนครบ 100,000 จุดทั่วประเทศในปีหน้า ตามที่ตั้งเป้าไว้ ส่วนพันธมิตร อย่างชายสี่บะหมี่เกี๊ยวเอง ก็ได้ผลประโยชน์คือสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ร้านบะหมี่



(กรอบ)

ยอดเพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการระบบเติมเงินของ Happy ปี 2549*

ไตรมาสที่ 1                                            972,759

ไตรมาสที่ 2                                            621,128



ยอดผู้ใช้บริการระบบเติมเงิน Happy ทั้งหมด ปี 2549

ไตรมาสที่ 1                                            8,184,616

ไตรมาสที่ 2                                            8,805,744

*ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.dtac.co.th





…………………………………



Case 2

อารมณ์ล้วนๆ


ธุรกิจประกันภัยเป็นหนึ่งในธุรกิจสายการเงินที่ทำการตลาดได้ยาก เพราะเป็นธุรกิจแบบ Customer Push Marketing น้อยครั้งที่ลูกค้าจะเดินเข้าบริษัทประกันแล้วขอทำประกันชีวิตเอง (ถึงมีคนอยากทำแบบนั้น บริษัทประกันเองก็คงต้องพิจารณาลูกค้ารายนี้อย่างหนัก) และทำให้ลูกค้าเกิดความภักดีได้อยากกว่า เพราะธรรมชาติของธุรกิจแบบนี้ ลูกค้าจะเลือกผลิตภัณฑ์จาก ผลตอบแทน นั่นคือ ใช้เหตุ-ผล เป็นหลัก แต่แนวทางการทำตลาดของของไทยประกันชีวิต กลับผลิกมุมมองใหม่กับธุรกิจประกัน ที่ใช้ อารมณ์

 สาเหตุที่ธุรกิจแห่งเหตุผล แปลงโฉมไปเป็นอารมณ์ เพราะไทยประกันชีวิต เป็นเพียงบริษัทเล็กๆ คือเล็ก เมื่อเทียบกับบริษัทประกันข้ามชาติ บริษัทคนไทยเสียเปรียบด้านเงินทุน เสียเปรียบด้านเทคโนโลยี ขาดความน่าเชื่อถือเมื่อเทียบกับแบรนด์ต่างชาติ เมื่อจุดอ่อนมีมากและล้วนแล้วเป็นจุดอ่อนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุ-ผล จึงต้องหักลบด้วยจุดแข็ง ไทยประกันชีวิตต้องสร้างแบรนด์ด้วยการสร้างความรู้สึกใกล้ชิดระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค

ด้วยธีมหลักของภาพยนตร์โฆษณา คุณค่าแห่งชีวิต ผ่านหนังต่อเนื่องอย่าง “Peace of Mind” เรื่องราวของปู่ชิวที่กระตุ้นอารมณ์ผู้ชมให้รู้สึกถึงความรักแท้ “Everlasting Love” ที่แม่ขอร้องให้หมอทำคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้ลูกได้อยู่ในอ้อมกอดของพ่อ “My Son” คู่พ่อ-ลูก ที่มีปัญหาของการแสดงความรู้สึกต่อกันและกัน จนเวลาล่วงเลยและสายเกินไป แม้ภาพยนตร์ช่วงหลัง อย่างเปียโนชีวิต จะเริ่มกล่าวถึงภาพลักษณ์ตัวแทนของไทยประกัน ต่างจากสามชุดแรกที่จะเน้นภาพลักษณ์ขององค์กรก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็นภาพยนตร์ที่เน้นความรู้สึกเป็นหลักอยู่ดี

นอกจากแนวทางประชาสัมพันธ์แล้ว สินค้าที่ออกแบบให้เป็น Mass-customize Product นั่นคือ ขายระดับมวลชนก็ได้ หรือขายตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคนก็ปรับไม่ยาก

ไชย  ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวถึงสินค้าว่า

สินค้าของไทยประกันชีวิตเหมือนจิ๊กซอว์ ที่เอามาต่อกันได้ ลูกค้าสามารถเลือกประกันชีวิตคู่กับประกันอุบัติเหตุ หรือประกันชีวิตคู่กับประกันสุขภาพ โดยที่เขาเป็นคนเลือกเอง แล้วผมก็ไม่สนว่าลูกค้าจะเป็นใคร ขอแค่เป็นคนไทย เพราะสโลแกนของเรา คือ ชีวิตของคนไทย ต้องให้คนไทยดูแล ดังนั้นเราจึงมีกรมธรรม์คุ้มครองทหาร คุ้มครองคนพิการ หรือคนแก่อายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งบริษัทอื่นไม่รับทำประกันให้ เราก็ทำ 

จากภาพยนตร์โฆษณาที่สร้างความประทับใจให้คนดูได้เสมอ มาจนถึงสินค้าที่สร้างความรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจในการ เลือก กองโจรนามไทยประกันชีวิต จึงเป็นบริษัทประกันอันดับหนึ่งของคนไทย ที่บริษัทประกันข้ามชาติรบไม่ชนะ



(กรอบ)

รางวัลแห่งความสำเร็จ


-บริษัทประกันชีวิตดีเด่นอันดับ 1

4 ปี (2545-2549) จากกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์

-สุดยอดบริษัทประกันชีวิตแห่งปี

ประจำปี 2548 จากการประกวด Asia Insurance Industry Awards

-Superbrand ประจำปี 2547/2548 และ Trusted Brand ประจำปี 2549

จากรีดเดอร์ส ไดเจสต์ ซึ่งเป็นผลสำรวจของผู้บริโภคโดยตรง